วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

เซลล์ประสาท

เซลล์ประสาท

1. การทำงานของเซลล์ประสาท
- การเกิดกระแสประสาท
- Sodium – Potassium Pump
- การถ่ายทอดกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาท
2. โครงสร้างของระบบประสาท
- ระบบประสาทส่วนกลาง ( Central nervous system)
- สมอง (Brain)
- ไขสันหลัง (spinal cord)
- ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System)
3. การทำงานของประสาทสั่งการในระบบประสาทรอบนอก
- ส่วนที่รับความรู้สึก (sensory division)จะรับความรู้สึกจากภายใน
หรือภายนอกร่างกาย
- ส่วนที่สั่งการ (motor division)
- ระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system : SNS)
- ระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system : ANS)
4. อวัยวะรับความรู้สึก
- หู
- ลิ้น
- ผิวหนัง
- จมูก
- ตา

การเกิดกระแสประสาท

การเกิดกระแสประสาท

สิ่งเร้าชนิดต่างๆ เช่น ความร้อน เสียง สารเคมีที่มากระตุ้น หน่วยรับความรู้สึกจะเปลี่ยนให้เป็นกระแสประสาทฮอดจ์กิน ( A.L. Hodgkin ) และฮักซ์เลย์ ( A.F. Huxley ) ได้นำไมโครอิเล็กโทรด ( Microelectrode ) ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดแก้วยาวปลายเรียวต่อกับมาตรวัดความต่างศักย์ ( Oscilloscope ) จากนั้นเสียบปลายด้านหนึ่งของไมโครอิเล็กโทรดเข้าไปในแอกซอนของหมึกยักษ์และแตะปลายอีกข้างหนึ่งไว้ที่ผิวด้านนอกของแอกซอน ดังภาพ


จากการทดลองพบว่าสามารถวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างภายในกับภายนอกได้ -70 มิลลิโวลต์ ซึ่งเป็นศักย์เยื่อเซลล์ระยะพัก ( Resting Membrane Potential ) เยื่อหุ้มเซลล์มีโปรตีนทำหน้าที่ควบคุมการเข้าออกของไอออนบางชนิด เช่น Na+ เรียกว่าช่องโซเดียม K+ เรียกว่าช่องโพแทสเซียม ในระยะพัก ความเข้มข้นของ Na+ ภายนอกเซลล์มากกว่าภายในเซลล์ แต่ความเข้มข้นของ K+ ภายในเซลล์มากกว่าภายนอกเซลล์ ทำให้ Na+ จึงแพร่เข้าไปในเซลล์ผ่านช่องโซเดียม ในขณะที่ K+ แพร่ออกนอกเซลล์ผ่านช่องโพแทสเซียม แต่เซลล์ก็ยังสามารถดำรงความแตกต่างของความเข้มข้นในแต่ละบริเวณไว้ได้ เนื่องจากอาศัยพลังงานจาก ATP ในการที่จะผลัก Na+ ไปข้างนอกและดึง K+ เข้ามาในเซลล์ ในอัตราส่วน 3 Na+ ต่อ 2 K+ เรียกกระบวนการนี้ว่า Sodium – Potassium Pump

Sodium – Potassium Pump

Sodium – Potassium Pump



ภายในเซลล์ประสาทมีโปรตีนประจุลบ ซึ่งมีขนาดใหญ่ไม่สามารถออกนอกเซลล์ได้ ทำให้ภายในเซลล์เป็นประจุลบ ประกอบกับการที่เซลล์ยอมให้ K+ จากภายในเซลล์ออกมาได้ดี ทำให้ภายนอกเซลล์เป็นประจุบวกเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นเซลล์ประสาทในระดับที่เซลล์สามารถตอบสนองได้ ( Threshold Potential ) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของศักย์เยื่อเซลล์ คือ ทำให้ช่องโซเดียมเปิด Na+ จึงพรูเข้าไปในเซลล์ ภายในเซลล์จะเป็นลบน้อยลง และมีความเป็นบวกมากขึ้น ความต่างศักย์ที่เยื่อเซลล์จะเปลี่ยนจาก -70 mV เป็น +50 mV เรียกระยะนี้ว่า Depolarization หลังจากนั้นช่องโซเดียมจะปิด แต่ช่องโพแทสเซียมจะเปิด ทำให้ K+ พรูออกนอกเซลล์ ทำให้เซลล์สูญเสียประจุบวกและกลับกลายเป็นประจุลบ ความต่างศักย์ที่เยื่อเซลล์จะเปลี่ยนจาก +50 mV เป็น -70 mV กลับสู่สภาพเดิม เรียกระยะนี้ว่า Repolarization ดังภาพ
การกระตุ้นเซลล์ประสาทในขณะที่ยังเกิด Action Potential อยู่ เซลล์ประสาทจะไม่ตอบสนอง เราเรียกระยะนี้ว่า Absolutely Refractory Periodการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ดังกล่าวนี้เรียกว่า Action Potential หรือ Nerve Impulse การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตรงบริเวณที่ถูกกระตุ้นจะชักนำในเกิด Action Potential ในบริเวณถัดไป มีผลให้ Action Potential เคลื่อนที่ไปตามยาวของเส้นใยประสาทแบบจุดต่อจุดต่อเนื่องกัน ( Core Conduction ) ในแอกซอนที่ไม่มี Myelin Sheath หุ้ม

สำหรับ Myelinated Axon เยื่อไมอีลินจะทำหน้าที่เป็นฉนวน ทำให้เกิด Action Potential จะเกิดเฉพาะบริเวณ Node of Ranvier ทำให้การเคลื่อนที่ของกระแสประสาทเร็วว่า การเคลื่อนที่ของกระแสประสาทแบบนี้เราเรียกว่า Saltatory Conductionนอกจากนี้เส้นผ่านศูนย์กลางของ Axon ก็มีผลต่อการเคลื่อนที่ของประแสประสาท โดย Axon ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า Action Potential จะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า

การถ่ายทอดกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาท

การถ่ายทอดกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาท
เมื่อกระแสประสาทดำเนินมาถึงปลายของ Axon จะพบรอยต่อระหว่างเซลล์ประสาท เราเรียกว่า Synapse ซึ่งมีสองชนิด แต่ในที่นี้ จะอธิบายเฉพาะแบบ Chemical SynapseSynapse นั้นจะมีช่องขนาดประมาณ 0.02 ไมโครเมตร ทำให้กระแสประสาทไม่สามารถผ่าน Synapse ได้ ตรงบริเวณของปลายของ Axon มีลักษณะโปร่งออก เรียกว่า Axon Terminal ซึ่งภายในมีสารสื่อประสาท ( Neurotransmitter ) บรรจุอยู่ใน Vesicle เมื่อกระแสประสาทเคลื่อนที่มาถึง Axon Terminal แล้ว Vesicle จะเคลื่อนที่รวมกับเยื่อหุ้มเซลล์ ( Exocytosis ) และปล่อยสารสื่อประสาทออกมาในช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาท ( Synaptic Cleft ) แล้วไปจับกับโปรตีนตัวรับบนเยื่อหุ้มเซลล์บริเวณ Dendrite หรือ Cell Body เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์และเกิดการส่งกระแสประสาทต่อไปสารสื่อประสาทที่เหลืออยู่ใน Synaptic Cleft จะถูกทำลายโดยเอนไซม์ สารที่ได้จากการสลายอาจนำกลับไปสร้างสารสื่อประสาทใหม่ บางส่วนถูกกำจัดไปกับระบบเลือด ดังนั้นเซลล์ประสาทตัวถัดไป ( Postsynaptic cell ) จะถูกกระตุ้นเฉพาะเวลาที่ Axon ของ Presynaptic Cell ปล่อย Neurotransmitter เท่านั้นยาระงับประสาทบางชนิด ระงับการปล่อยสารสื่อประสาท ในขณะที่สารจำพวกนิโคติน คาเฟอีน หรือแอมเฟตามีน จะไปกระตุ้น Axon ปล่อยสารสื่อประสาท ทำให้เกิดการตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว สำหรับยาบางชนิดยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยสลายสารสื่อประสาท
ตัวอย่างสารสื่อประสาท เช่น Acetylcholine, Norepineprine (NE), Epinephrine, Endophrine

ระบบประสาทส่วนกลาง ( Central nervous system)

ระบบประสาทส่วนกลาง ( Central nervous system)
ระบบประสาทส่วนกลาง ( Central nervous system)เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกาย ซึ่งทำงานพร้อมกันทั้งในด้านกลไกและทางเคมีภายใต้อำนาจจิตใจ ซึ่งประกอบด้วยสมองและไขสันหลังโดยเส้นประสาทหลายล้านเส้นจากทั่วร่างกายจะส่งข้อมูลในรูปกระแสประสาทออกจากบริเวณศูนย์กลางมีอวัยวะที่เกีย่วข้องคือ สมองและไขสันหลัง

สมอง (Brain)

สมอง (Brain)
สมอง เป็นส่วนที่ใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ ของระบบประสาทส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำกิจกรรมทั้งหมดของร่างกาย เป็นอวัยวะชนิดเดียวที่แสดงความสามารถด้านสติปัญญาการทำกิจกรรมหรือการแสดงออกต่างๆ สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่สำคัญแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้


1.1 เซรีบรัมเฮมิสเฟียร์(cerebrum hemisphere) คือสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมที่ซับซ้อนเกี่ยวกับความรู้สึกและอารมณ์ ควบคุมความคิด ความจำ และความเฉลียวฉลาด เชื่อมโยงความรู้สึกต่างๆ เช่น การได้ยิน การมองเห็น การรับกลิ่น การรับรส การรับสัมผัส เป็นต้น

1.2 เมดัลลาออบลองกาตา(medulla oblongata) คือส่วนที่อยู่ติดกับไขสันหลัง ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การไอ การจามการกะพริบตา ความดันเลือด เป็นต้น

1.3 เซรีเบลลัม(cerebellum) คือสมองส่วนท้าย เป็นส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและการทรงตัว ช่วยให้เคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำ เช่น การเดิน การวิ่ง การขี่จักรยาน เป็นต้น

สมองเป็นระบบประสาทที่มีความซับซ้อนมากที่สุด สมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังอยู่ในกะโหลกศีรษะ ชั้นนอกมีสีเทา (gray matter) เป็นส่วนของเชลล์ที่ไม่มีเยื้อไมอีลินห่อหุ้มส่วนชั้นในเป็นสีขาว (white matter) เป็นส่วนที่อยู่ของเส้นประสาทเเละมีเยื่อไมอีลินห่อหุ้ม

สมองเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทบรรจุอยู่ใน Craial Cavity โดยทั่วไปมีน้ำหนักประมาณ 1.4 กิโลกรัม ประกอบด้วยเชลล์ประสาทมากกว่าร้อยละ 90 ของเชลล์ประสาททั้งหมดบรรจุอยู่ในกะโหลกศีรษะเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน

สมองคนเรา แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลางและสมองส่วนหลังสมองแต่ละส่วนมีการควบคุมการทำงานของร่างกายแตกต่างกัน ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนั้
1. สมองส่วนหน้า (forebrain) ประกอบด้วย

ออลแฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulm)สมองส่วนนี้ของคนไม่เจริญมาก จึงรับกลิ่นได้ไม่ดี เเต่ในปลาส่วนนี้เจริญมากเป็นส่วนที่อยู่หน้าสุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น มีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ์

เซรีบรัม (cerebrum)เป็นสมองที่มีการเจริญเปลี่ยนเปลงมากที่สุดและมีขนาดใหญ่โตมากที่สุด มีเชลล์์ประสาทมาก ความฉลาดของสัตว์ขึ้นอยู่กับจำนวนเชลล์สมอง มีหน้าที่่่การทำงานเกี่ยวกับ ความคิดความจำ เชาวน์ปัญญา ศูนย์กลางควบคุมการทำงานด้านต่างๆ การสัมผัส การพูด การมองเห็น รับรส การไดยิน การดมกลิ่นการทำงานของกล้ามเนื้อ

ไฮโปทาลามัส (hypothalamus)เป็นสมองส่วนที่มีขนาดเล็ก เป็นบริเวณที่สำคัญในการควบคุมขบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ควบคุมการรทำงานของร่างกาย ควบคุมการเต้นของหัวใจ ควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกาย เช่น น้ำ อาหาร ความต้องการทางเพศ สร้างฮอร์โมนประสาทมาควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่องใต้สมองส่วนหน้า

ทาลามัส (thalamus) เป็นส่วนที่อยู่ห่างจากซีรีบรััม ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้าออกและแยกกระแสประสาทไปยังสมองที่เกี่ยวกับกระแสประสาทนั้น

2. สมองส่วนกลาง (midbrain) พัฒนาลดรูปเหลือแค่

ออพติกโลบ (optic lobe) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกนัยน์ตากลอกไปมาได้ควบคุมการปิดเปิดของรูม่านตาในเวลาที่มี่แสงสว่างเข้ามากและน้อย
3. สมองส่วนหลัง (hindbrain) ประกอบด้วย

เซรีเบลลัม (cerebellum)ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ชั้นนอกเรียกว่า คอร์เทกซ์ (cortex) มีสีเทา ชั้นในมีสีขาวแตกกิ่่งก้านสาขาคล้ายกิ่งไม้ ทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวของร่างกาย ให้สามารถทำงานได้อย่างละเอียดอ่อน ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) เป็นส่วนสุดท้ายของสมองต่อจากพอนส์ ตอนปลายติดกับไขสันหลัง สมองส่วนนี้มีการเปลี่ยนรูปร่างจากเิดิมน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสมองส่วนอื่นๆ ทำีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ เป็นทางผ่านของกระเเสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง ควบคุมการเต้นของหัวใจ การหายใจ ความดันเลือด การกลืน การจาม การสะอึก การอาเจียน

พอนส์ (pons) อยู่ทางด้ายหลังของเซรีบรัม ประกอบด้วยมัดของเเถบประสาทเป็นทางผ่านของกระเเสประสาทระหว่างซีรีบรัมเเละซีรีเบลลัม ทำหน้าที่ควบคุมการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของใบหน้า ควบคุมการหายใจเป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างเซรีบรัมกับเซรีเบลลัม และเซรีเบลรัมกับไขสันหลัง

ไขสันหลัง (spinal cord)



ไขสันหลัง (spinal cord)


เป็นส่วนของระบบประสาทที่ต่อออกมาจากเมดัลลาออบลองกาตาอยู่ภายในกระดูกสันหลัง ตั้งแต่กระดูกสันหลังข้อแรกจนถึงกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอวข้อที่ 2 และมีเยื่อหุ้มเช่นเดียวกับสมองไขสันหลังบริเวณอกและเอวขยายกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ เมื่อเลยกระเบนเหน็บลงไปแล้ว จะเรียวเล็กจนมีลักษณะเป็นเส้นไม่มีเยื่อหุ้ม ดังนั้นการฉีดยาเข้าที่บริเวณไขสันหลังและเจาะน้ำบริเวณไขสันหลังจึงทำกันต่ำกว่ากระดูกสันหลังเอวข้อที่สองลงมา


เส้นประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังมีทั้งหมด 31 คู่ เป็นเส้นประสาทประสม(mixed never)แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5บริเวณดังนี้
- เส้นประสาทบริเวณคอ (cervical never) 8 คู่


- เส้นประสาทบริเวณอก (thoracal never) 12 คู่


- เส้นประสาทบริเวณเอว (lumbar never) 5 คู่


- เส้นประสาทบริเวณกระเบนเหน็บ (sacral never) 5 คู่


- เส้นประสาทบริเวณก้นกบ (coccygeal never) 1 คู่
เส้นประสาทที่ไขสันหลังไปเลี้ยงแขนและขาจะมีความยาวมากกว่าไปเลี้ยงลำตัว ถ้าตัดไขสันหลังออกตามขวางจะพบว่าแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ


1. เนื้อสีเทา (gray matter) อยู่ทางด้านใน มีลักษณะเป็นรูปผีเสื้อเป็นที่อยู่ของเซลล์ประสาทและ ใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม ส่วนตรงกลางของไขสันหลัง บริเวณเนื้อสีเทาจะมีช่องในไขสันหลัง เรียกว่า ช่องกลวงตรงกลางไขสันหลัง (central canal) เป็นที่อยู่ของ น้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebo-spinal fluid)ส่วนของไขสันหลังสีเทาที่ยื่นไปข้างหลัง เรียกว่า ปีกบน (posterior gray horn) จะมีแอกซอนของเซลล์ประสาทพวกรับความรู้สึกจากอวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ เข้าสู่ปีกบนทางรากบน (dorsal root) ของเส้นประสาทไขสันหลังส่วนไขสันหลังสีเทาที่ยื่นออกมาข้างหน้าเรียกว่าปีกล่าง(anterior gray horn vetral gray horn) เป็นที่อยู่ของ เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron ) นำกระแสประสาทออกทางรากล่าง (ventral root) ของเส้นประสาทไขสันหลังไขสันหลังส่วนสีเทาแบ่งตามหน้าที่ สามารถจำแนกได้ 4 บริเวณ คือ


1.1 โซมาติกเซนซอรีคอลัมน์ (somatic motor column)เป็นบริเวณที่ทำหน้าที่ในการรับความรู้สึก คือ รับความรู้สึกจากผิวหนังและกล้ามเนื้อ ทั่วร่างกายได้แก่ส่วนของปีกบน (posterior gray horn) ด้านใน ซึ่งอยู่ชิดกับร่องทางด้านหลังของไขสันหลัง

1.2 โซมาติก มอเตอร์ คอลัมน์ (somatic motor column ) เป็นบริเวณที่ทำหน้าที่สั่งการออกจากไขสันหลังไปสู่กล้ามเนื้อของอวัยวะตอบสนองต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ได้แก่ ส่วนของปีกล่าง (anterior gray horn ) ด้านใน ซึ่งชิดกับร่องทางด้นหลังของไขสันหลัง

1.3 วิสเซอรัล เซนเซอรี คอลัมน์ (visceral sensory column )เป็นบริเวณที่รับความรู้สึกจากอวัยวะภายในต่าง ๆ ได้แก่ ส่วนของปีกบนด้านนอก ซึ่งอยู่ชิดกับด้านข้างของเนื้อสีขาว (white matter )

1.4 วิสเซอรัลมอเตอร์คอลัมน์ (visceral motor column ) เป็นบริเวณที่ทำหน้าที่สั่งการออกไปสู่กล้ามเนื้อของอวัยวะภายในต่าง ๆได้แก่ ส่วนของปีกล่างด้านนอกซึ่งอยู่ชิดกับด้านข้างของเนื้อสีขาว


2. เนื้อสีขาว (white matter )เป็นส่วนที่อยู่ด้านนอก เป็นพวกใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มอยู่หนาแน่น จึงมีสีขาวทำหน้าที่เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างไขสันสันหลังกับสมองกลุ่มเส้นประสาทแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ


1. กลุ่มเส้นประสาทนำกระแสประสาทเข้าสู่สมอง (ascending tract )

2. กลุ่มเส้นประสาทสั่งการจากสมองผ่านไขสันหลังไปยังอวัยวะตอบสนองต่าง ๆ (descending tract )กลุ่มเส้นประสาทนำกระแสประสาทเข้าสู่สมอง (ascending tract ) แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ เช่น นำกระแสประสาทจากกล้ามเนื้อเข้าสู่ไขสันหลังและสมอง นำกระแสประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการสัมผัส ความดัน ไปสู่สมองส่วนที่ทำหน้าที่นั้น ๆ นำกระแสประสาทเกี่ยวกับความรู้สึกเจ็บและอุณหภูมิจากอวัยวะ รับสัมผัสต่าง ๆ เข้าสู่สมองกลุ่มเส้นประสาทสั่งการจากสมองผ่านไขสันหลังไปยังอวัยวะตอบสนองต่าง ๆ (descending tract ) ได้แก่ กลุ่มเส้นประสาทที่นำคำสั่งจากสมองโดยเฉพาะจากซีรีบัลคอร์เทกซ์ (cerebral cortex) ลงมาตามไขสันหลังไปสู่กล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในอำนาจจิตใจ (voluntary muscle ) ทั่วร่างกาย

เส้นประสาทไขสันหลังแต่ละเส้นประกอบด้วยมัดเส้นใยประสาทหลาย ๆ มัด และมัดเส้นใยประสาทประกอบด้วยใยประสาทจำนวนมาก มัดเส้นใยประสาทมีทั้งเส้นใย ประสาทสั่งการและใยประสาทรับความรู้สึก ดั้งนั้น เส้นประสาทไขสันหลังจึงเป็นเส้นประสาทประสม (mixed nerve) ทั้งหมด

ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System)

ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System)

ทำหน้าที่รับและนำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางได้แก่ สมองและไขสันหลังจากนั้นนำกระแสประสาทสั่งการจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังหน่วยปฎิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกและอวัยวะรับสัมผัส รวมทั้งเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่อยู่นอกระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทรอบนอกจำแนกตามลักษณะการทำงานได้ 2 แบบ ดังนี้
1. ระบบประสาทภายใต้อำนาจจิตใจ เป็นระบบควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่บังคับได้ รวมทั้งการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก

2. ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ เป็นระบบประสาทที่ทำงานโดยอัตโนมัติ มีศูนย์กลางควบคุมอยู่ในสมองและไขสันหลัง ได้แก่ การเกิดรีเฟลกซ์แอกชัน (Reflex Action) และเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นที่อวัยวะรับสัมผัสเช่น ผิวหนัง กระแสประสาทจะส่งไปยังไขสันหลัง และไขสันหลังจะสั่งการตอบสนองไปยังกล้ามเนื้อ โดยไม่ผ่านไปที่สมอง เมื่อมีเปลวไฟมาสัมผัสที่ปลายนิ้วกระแสประสาทจะส่งไปยังไขสันหลังไม่ผ่านไปที่สมอง ไขสันหลังทำหน้าที่สั่งการให้กล้ามเนื้อที่แขนเกิดการหดตัว เพื่อดึงมือออกจากเปลวไฟทันที





ระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system : ANS )

เป็นระบบประสาทที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ (involuntary nervous system)เป็นระบบประสาทที่ควบคุมอวัยวะที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ เช่น กล้ามเนื้อเรียบและอวัยวะต่าง ๆกล้ามเนื้อหัวใจที่หัวใจ และต่อมต่าง ๆ ให้ทำงานโดยอัตโนวัติ ทำให้ร่างกายดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ การทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติประกอบด้วยเส้นประสาทของระบบประสาทอัตโนวัติ มี 2 ตอน คือ
ตอนแรก คือ เส้นประสาทหน้าปมประสาทหรือเซลล์ประสาทก่อนแกลงเกลีย มีเยื่อไมอีลินห่อหุ้ม เชื่อมระหว่างระบบประสาทส่วนกลางกับปมประสาทอัตโนวัติ
ตอนที่ 2 คือ เส้นประสาทหลังปมประสาทหรือเซลล์ประสาทหลังแกงเกลีย เป็นเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างปมประสาทอัตโนวัติกับอวัยวะตอบสนอง
ปมประสาทอัตโนวัติ เป็นส่วนที่มีตัวเซลล์ประสาทของระบบประสาทอัตโนวัติ ที่อยู่นอกระบบประสาทกลางอยู่และเป็นตำแหน่งที่มีการไซแนปส์ของเซลล์ประสาทหน้าปมประสาทกับเซลล์ประสาทหลังปมประสาท เซลล์ประสาทอัตโนวัติ มี 2 เซลล์ คือ
เซลล์ประสาทหน้าปมประสาท มีตัวเซลล์อยู่ในไขสันหลังและมีแอกซอนไปสิ้นสุดที่ปมประสาทอัตโนวัติซึ่งเป็นจุดที่ไซแนปส์
เซลล์ประสาทหลังปมประสาท มีตัวเซลล์ประสาทอยู่ในปมประสาทอัตโนวัติและมีแอกซอนอยู่ที่อวัยวะตอบสนอง
ระบบประสาทอัตโนวัติ แบ่งออกเป็น 2 ระบบ โดยมีลักษณะในการทำงานตรงกันข้าม คือ

1. ระบบประสาทซิมพาเทติก (symoathetic nerve)
2. ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasymoathetic nerve)



ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nerve)

ระบบประสาทนี้แยกออกจากไขสันหลังบริเวณอกและเอว เรียกได้อีกอย่างว่า ทอราโคลัมบาร์เอาต์โฟล์ว (thoraco-lumbar outflow)
เซลล์ประสาทตัวแรก (preganglionic fibre) อยู่ที่ไขสันหลัง แล้วมีแอกซอนออกมากับเซลล์ประสาทสั่งการ แล้วแยกไปยังปมประสาทซิมพาเทติกบริเวณอกและเอว แอกซอนของเซลล์ประสาทตัวแรกจะปล่อยสารสื่อประสาท (neurotransmitter) เป็นสารแอซิติลโคลิน ภายในปมประสาทซิมพาเทติกจะมีเซลล์ประสาททำหน้าที่เ็ป็นเซลล์ประสาทตัวที่สอง(postganglionic fibre) ซึ่งจะส่งแอกซอนไปยังอวัยวะภายในต่าง ๆ สารที่แอกซอนตัวที่สองปล่อยออกมาเป็นสาร นอร์อะดรีนาลิน หรือ นอร์เอพิเนฟริน จึงเรียกเซลล์ประสาทพวกนี้ว่าเซลล์ประสาทอะดรีเนอร์จิก (adrenergic neuron) สารนี้เมื่อปล่อยออกมาจะถูกย่อยสลายโดยเอนไซม์มอนามีนออกซิเดส ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ใหม่อีก ( รับการกระตุ้นได้อีก )
ระบบประสาทซิมพาเทติกมักจะกระตุ้นการทำงานมากกว่ายับยั้งการทำงาน


ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nerve)



ระบบประสาทนี้แยกออกจากสมองและไขสันหลังตอนสะโพก เรียกได้อีกอย่างว่า คานิโอซากรัล เอาต์โฟล์ว (carnio-sacral outflow) ทั้งเซลล์ประสาทตัวแรกและเซลล์ประสาทตัวที่สองของระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะปล่อยสารสื่อประสาทเป็นแอซิติลโคลินจึงเรียกเซลล์ประสาทพวกนี้ว่า เซลล์ประสาทคอลิเนอร์จิก (cholinergic neuron) ระบบประสาทนี้มักจะยับยั้งการทำงานมากกว่าที่จะกระตุ้นการทำงาน เพื่อปรับไม่ให้ร่างกายทำงานมากเกินไป
เปรียบเทียบส่วนประกอบของระบบประสาทซิมพาเทติกและระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

ระบบประสาทโซมาติก






ระบบประสาทโซมาติก (somaticnervous system : SNS)
ระบบประสาทโซมาติก ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูก โดยเซลล์ประสาทรับความรู้สึกจะรับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทไขสันหลังหรือเส้นประสาทสมองเข้าสู่ไขสันหลังหรือสมอง และกระแสประสาทจะถูกส่งผ่านเส้นประสาทไขสันหลังหรือเส้นประสาทสมองไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อยึดกระดูก บางครั้งอาจทำงานโดยผ่านไขสันหลังเท่านั้น เช่น การกระตุกขาเมื่อเคาะหัวเข่าเบา ๆ

ระบบประสาทโซมาติก เป็นระบบที่ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลายหรือระบบประสาทในอำนาจจิตใจ (voluntary nervous system) ได้แก่ เส้นประสาทสมอง และเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งมีใยประสาทนำคำสั่งไปควบคุมกล้ามเนื้อลาย

การตอบสนองสิ่งเร้าที่มากระตุ้น เช่น การกระตุกขาเมื่อเคาะหัวเข่าจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนวัติ เรียกว่า รีเฟล็กซ์ (reflex) กิริยาิอาการที่แสดงออกมา้้เมื่อมีสีิงเร้ามากระตุ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เรียกว่า รีเฟล็กซ์แอกชัน (reflex action) เป็นการตอบสนองของหน่วยปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด โดยไม่มีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า เป็นการสั่งการของไขสันหลัง โดยไม่ต้องอาศัยคำสั่งจากสมอง

ในเวลาที่เราเดินเท้าเปล่า แล้วบังเอิญไปเหยียบเศษแก้ว เราจะชักเท้าออกทันที โดยที่่สมองยังไม่ทันได้คิดหรือสั่งการ สมองเองยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่ามีอะไรเกิดขึ้น จนอีกเสี้ยวเวลาต่อมาจึงจะรู้สึกเจ็บและรับรู้ว่าสิ่งที่เหยียบนั้นคืออะไร
การทำงานของระบบประสาทที่เป็นวงจรนี้เีรียกว่า รีเฟล็กซ์อาร์ก (reflex arc)


บางครั้งรีเฟล็กซ์อาร์ก อาจไม่จำเป็นต้องมีเซลล์ประสาทประสานงานก็ได้ เช่นการกระตุกเมื่อเคาะที่หัวเข่า จะประกอบด้วยเซลล์ประสาทเพียงสองชนิด

หู



หู




หูของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งรวมถึงมนุษย์เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ 2 ประการ ซึ่งก็คือ
1. การได้ยินหรือการรับฟังเสียง (Phonoreceptor) โดยสามารถแยกความแตกต่างของคลื่นเสียงได้
2. การทำหน้าที่ทรงตัว รักษาสมดุลของร่างกาย (Statoreceptor)



หูส่วนนอก (External ear) ซึ่งประกอบด้วย



- ใบหู (Pinna) มีหน้าที่ในการรวบรวมคลื่นเสียงที่มาจากที่ต่างๆ ส่งเข้าสู่รูหู ใบหู มีกระดูกอ่อนอีลาสติก เป็นแกนอยู่ภายใน ทำให้โค้งพับงอได้
- ช่องหู หรือ รูหู (Auditory canal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดใบหูเข้ามาจนถึงเยื่อแก้วหู ทำหน้าที่เป็นทางเดินของคลื่นเสียงเข้าสู่หูส่วนกลาง รูหูมีขนและต่อมสร้างขี้หู (Ceruminous gland) ทำหน้าที่สร้าง
ขี้หูไว้ดักฝุ่นละออง หรือสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าไปในรูหู
3. แก้วหู หรือ เยื่อแก้วหู (Tympanic membrane หรือ ear drum) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ และเป็นเส้นใยที่มีความยาวเท่าๆกันจึงสั่นสะเทือนเมื่อมีเสียงมากระทบและแยกคลื่นเสียงที่แตกต่างกันได้โดยมีความว่องไวต่อการเปลี่ยนแปลงความดัน แต่จะไม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงความเร็ว (คลื่นเสียงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแรงดันในช่องหู)

หูส่วนกลาง (Middle ear)



เป็นส่วนที่ถัดจากแก้วหูเข้ามา ภายในหูตอนกลางจะมีท่อยูสเทเชียน (Eustachian tube) มีลักษณะเป็นท่อกลวงขนาดเล็ก เชื่อมติดระหว่างคอหอยและหูชั้นกลาง มีหน้าที่ปรับความดันภายในหูให้ภายในหูมีความดันเท่ากับความดันภายนอก ถ้าหากระดับความดันของทั้งสองแห่งไม่เท่ากัน จะมีผลทำให้รู้สึก หูอื้อ และถ้าเกิดความแตกต่างมากจะทำให้รู้สึกปวดหู ภายในหูส่วนกลางนี้มีกระดูก 3 ชิ้นคือ กระดูกค้อน (malleus) กระดูกทั่ง (incus) และกระดูกโกลน (stapes) เรียงตามลำดับจากด้านนอกเข้าสู้ด้านใน มีหน้าที่ในการขยายการสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงให้มากขึ้น และจึงส่งต่อการสั่งสะเทือนเข้าสู่หูส่วนในเพื่อแปลเป็นความรู้สึกเพื่อส่งต่อไปยังสมอง

หูส่วนใน (Inner ear)



อยู่ถัดจากหูส่วนกลางเข้ามา หูส่วนในประกอบด้วยท่อขดก้นหอย หรือ คอเคลีย (Cochlea) ภายในคอเคลียมีเยื่อบางๆ 2 ชนิดกั้นทำให้ภายในแยกเป็น 3 ส่วน
1. เยื่อชนิดแรกเรียกว่า เยื่อเบซิล่าร์ (basilar membrane) ยาวประมาณ 30 มิลลิเมตร ตอนกลางจะยึดอยู่กับกระดูกแข็ง สไปรัลลามินา (spiral lamina) ส่วนด้านข้างติดอยู่กับเอ็นสไปรัล (spiral ligament) ที่เยื่อนี้มีอวัยวะพิเศษ เรียกว่า
อวัยวะของคอร์ตี (organ of corti) อวัยวะชิ้นนี้ประกอบด้วยแถวของเซลล์ขน (hair cell) มีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ อยู่ระหว่างเยื่อหุ้มสองชั้น ปลายเซลล์ขนจะมีซิเลียที่ยาวมากยื่นเข้ามาในส่วนที่เป็นของเหลว และสัมผัสกับเนื้อเยื่อที่อยู่ตรงด้านตรงข้ามที่เรียกว่าเยื่อแทกทอเรียล (tectorial membrane) แต่ละเซลล์มีซิเลียมากกว่า 200 อัน เมื่อของเหลวในคอเคลียสั่นสะเทือน เยื่อทั้งสองด้านจะเคลื่อนที่ใกล้กันมากขึ้น ทำให้ซิเลียเกิดเปลี่ยนรูปร่าง ซึ่งจะไปทำให้เกิดศักย์กิริยาขึ้นที่เซลล์ประสาทที่ติดต่ออยู่ด้วย นำกระแสความรู้สึกผ่านเข้าสู่สมองทางเส้นประสาทออดิทอรี(auditory nerve) ในอัตราที่มากถึง 15,000 ครั้งต่อวินาทีซึ่งเป็นความถี่ของเสียงที่หูของมนุษย์รับได้
2. เนื้อเยื่ออีกชนิดหนึ่ง คือ เยื่อไรสส์เนอร์ (Reissner’s membrane) เป็นเยื่อที่ติดอยู่กับผนังด้านในของบริเวณ
ลิมบัส(limbus) และทางด้านข้างติดต่อกับขอบบนของสไตรอาวาสคิวลาริส (stria vascularis) ดังนั้นระหว่างเยื่อเบซิล่าร์และเยื่อไรสส์เนอร์จะมีช่องเล็กตอนกลางเรียกว่า สกาลามีเดีย (scala media) หรือท่อของคอเคลียจะมีของเหลวอยู่ในช่องนี้ เรียกว่า เอนโดลิมฟ์ (endolymph) ตอนบนของเยื่อไรสส์เนอร์จะมีช่องเวสทิบิวลาร์คะแนล (vestibular canal) และตอนล่างของเยื่อเบซิลาร์จะมีช่องทิมพานิกคะแนล (tympanic canal) เรียกของเหลวที่บรรจุเต็มช่องบนและช่องล่างว่าเพริลิมฟ์ (perilymph) ตอนยอดของก้นหอยโข่งจะมีรูเปิดติดต่อถึงกันได้ระหว่าง ทิมพานิกคะแนลและเวสทิบิวลาร์คะแนล รูนี้เรียกว่า เฮริโคทรีมา (helicotrema) ที่หน้าต่างรูปไข่จะเป็นบริเวณที่เริ่มต้นของเวสทิบิวลาร์คะแนล ส่วนที่หน้าต่างวงกลมจะอยู่ตอนปลายของทิมพานิกคะแนล การสั่นสะเทือนของของเหลวภายในคอเคลียจะเริ่มต้นที่หน้าต่างรูปไข่แล้วเคลื่อนไปตามเวสทิบิวลาร์คะแนล จนถึงยอดของหอยโข่ง จากนี้จะเคลื่อนมาตามทิมพานิกคะแนล จนไปสิ้นสุดที่หน้าต่างวงกลม จะเห็นได้ว่าการสั่นสะเทือนจะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันบนเยื่อกั้นทั้งสองด้านที่เป็นที่อยู่ของเซลล์รับความรู้สึกทางกล ในทิศทางตรงกันข้ามกัน เนื่องจากโครงสร้างที่มีลักษณะพิเศษของคอเคลียดังกล่าวมาแล้ว การสั่นสะเทือนที่ความถี่ระดับหนึ่งจะมีแนวโน้มที่จะลดลงที่บริเวณหนึ่ง แต่ไปทำให้เพิ่มขึ้นในอีกบริเวณหนึ่งได้ ผลที่ตามมาคือ การสั่นสะเทือนที่มีความถี่สูงๆ จะมีผลกระตุ้นเซลล์ขนได้สูงสุดในบริเวณหน้าต่างรูปไข่
ภายในหูส่วนในยังมีอวัยวะที่ช่วยในการทรงตัว คือ
เวสทิบิวล่าร์แอพพาราตัส (Vestibular apparatus) ซึ่งประกอปด้วยส่วนต่างๆ คือ
1. semicircular canal มีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมภายในบนนจุของเหลว endolymph ในส่วนที่นูนออกมาบริเวณปลายจะมี hair cell อยู่
2. utricle , saccule อยู่ทางด้านหน้า ของข้อ1 มีก้อง Ca เล็กอยู่และ hair cell
ภายใน semicircular canal มี endolymph เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาทำให้ขนของ hair cell เบนไปมาทำให้เกิดคลื่นกระแสประสาทส่งไปยังสมองเพื่อควบคุมการทรงตัว ถ้าหากหมุนตัวหลายๆรอบ จะทำให้ระบบส่วนนี้ทำงานผิดปรกติทำให้เกิดอาการมึนงง




การสั่นสะเทือน
ส่วนการสั่นสะเทือนที่มีความถี่ต่ำจะมีผลกระตุ้นมากที่สุดตรงปลายด้านในสุดของคอเคลีย การสั่นสะเทือนที่มีความถี่ปานกลาง จะมีผลกระตุ้นได้มากที่สุดตรงบริเวณกึ่งกลางระหว่างหน้าต่างรูปไข่และปลายด้านในสุดของคอเคลีย เนื่องจากเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่บริเวณต่าง ๆ ของคอเคลียนำกระแสความรู้สึกเข้าสู่บริเวณสมองคนละตำแหน่ง ดังนั้นผลที่สมองแปลออกมาจึงสามารถบอกถึงความแตกต่าง ของระดับความถี่ของคลื่นเสียงที่มากระตุ้นได้ ของเหลวในเอนโดลิมฟ์ที่มีส่วนประกอบคล้ายคลึงกับของเหลวในเซลล์แต่มีโปรตีนน้อยกว่า ซึ่งตรงกันข้ามกับ เฟริลิมฟ์ที่มี Na+ และโปรตีนสูง
รูปร่างของคอเคลียสามารถจะบอกช่วงความถี่ของคลื่นเสียงที่หู สามารถตอบสนองได้ ของมนุษย์ระหว่าง 20 – 20,000 รอบต่อวินาที แมวอยู่ระหว่าง 50,000 รอบต่อวินาที
ค้าวคาวและปลาโลมา มีความสามารถรับความถี่ได้สูงมากถึง 100,000 รอบต่อวินาที เสียงที่ดังมาก ๆ เมื่อเข้ามากระทะแก้วหู การสั่นสะเทือนที่รุนแรงของของเหลวในหูส่วนในอาจทำให้ซิเลียของเซลล์ขนฉีกขาดได้ ทำให้สูญเสียการรับเสียงในช่วงความถี่นั้นๆ ได้ หูของมนุษย์มีชุดกล้ามเนื้อที่สามารถลดการเคลื่อนที่อย่างรุนแรงของกระดูกโกลนเมื่อได้รับการกระตุ้นของเสียงอย่างรุนแรงได้บ้าง การสูญเสียเซลล์ขนจำนวนมากจะไม่สามารถสร้างกลับคืนมาได้ใหม่ อาจเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น เสียงเครื่องจักรกลในโรงงานใหญ่ เสียงเครื่องบินเร็วกว่าเสียง เช่นเครื่องบินไอพ่น เสียงจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ และรถแข่ง รวมทั้งเสียงดนตรีในแหล่งสถานบันเทิง
การทำงานของหู เริ่มจาก เสียงจะเข้าไปในรูหูผ่านใบหู หลังจากนั้น ก็จะไปสั่นที่แก้วหู หลังจากนั้นแก้วหูก็จะไปสั่นกระดูกทั่ง ค้อน และ โกลน หลังจากนั้น กระดูกโกลนและจะไปสั่นคอเคลีย ของเหลวในคอเคลียจะไปสั่นเซลล์ขนในคอเคลีย เซลล์ขนจะแปรความสั่นสะเทือนเป็นกระแสไฟฟ้าและส่งไปยังเส้นประสาท กระแสไฟฟ้าจะเดินทางผ่านเส้นประสาทและไปที่ไปที่สมอง เพื่อให้สมองแปรเป็นข้อมูล

ลิ้น

ลิ้น


ลิ้นเป็นอวัยวะในช่องปาก ทำหน้าที่ช่วยคลุกเคล้าอาหารและรับความรู้สึกเกี่ยวกับรสชาติของอาหาร การที่ลิ้นสามารถรับรู้รสชาติของอาหารได้นั้น เพราะมีอวัยวะในการรับรู้รส เรียกว่า ตุ่มรับรส (taste buds) อยู่บนลิ้น ตุ่มรับรส มีลักษณะกลมรี ประกอบด้วยเซลล์รูปทรงกระสวย และปลายเส้นประสาทที่รับรู้รสสามเส้น



ตุ่มรับรสส่วนใหญ่พบที่ด้านหน้า และด้านข้างของลิ้น ส่วนบนของต่อมทอนซิล เพดานปาก และหลอดคอ พบเป็นส่วนน้อย จากการทดลองแล้วปรากฎว่า ตุ่มรับรสมีอย่างน้อยที่สุด ประมาณ 4 ชนิดด้วยกัน ซึ่งจะคอยรับรสแต่ละอย่าง คือ



1. รสหวาน



2. รสเค็ม



3. รสขม



4. รสเปรี้ยว



ตุ่มรับรสเหล่านี้อยู่ตามบริเวณต่างๆ บนลิ้น ดังภาพ






การรู้รสเป็นความรู้สึกที่เกิดได้โดยปฎิกริยาทางเคมี คือ เมื่ออาหารเข้าสู่ปาก อาหารก็จะทำปฎิกริยากับน้ำย่อยและน้ำลายในปาก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งกระตุ้นให้ตุ่มรับรสที่คิยรับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี รับรู้ถึงรสชาติของอาหาร แล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทสมองสามเส้นเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อแปลความหมายที่สมองว่าเป็นรสอะไร และแปลความหมายว่าร้อนหรือเย็นได้ด้วย



มนุษย์สามารถแยกการรู้รสต่างๆ ได้อย่างง่ายๆ 4 รส ด้วยกันคือ



1. รสหวาน(sweet) เกิดจากสารเคมีหลายชนิดได้แก่ น้ำตาล แอลกอฮอล์ กรดอมิโน และเกลืออนินทรีย์ของตะกั่ว



2. รสเค็ม(salty) เกิดจากอณูของเกลือ



3. รสขม(bitter) เกิดจากสารสองชนิดโดยเฉพาะ คือ



3.1 สารอินทรีย์ที่มีโมเลกุล



3.2 พวกอัลคาลอยด์ ซึ่งได้แก่ยาหลายชนิดเช่นควินิน,กาเฟอีน,สตริกนินเป็นต้น



4. รสเปรี้ยว(sour) เกิดจากความเป็นกรด



จากการทดสอบความไวในการรับรู้รสชนิดต่างๆ พบว่า มนุษย์มีความรู้สึกเกี่ยวกับรสได้ไวที่สุด ซึ่งคาดคะเนว่าเป็นกลไกตามธรรมชาติที่มีป้องกันตัว โดยสังเกตได้จาก การกินอาหารที่มีรสขมมากๆ มนุษย์หรือสัตว์จะคายอาหารออก ซึ่งนับว่าเป็นผลดี เพราะสารพิษหลายอย่างในธรรมชาติมีรสขมจัด



เมื่อเราไม่สบาย ลิ้นจะมีฝ้าขาว ทำให้ไม่รู้รส จึงกินอาหารไม่อร่อย และเบื่ออาหาร ถ้าไม่สบายต้องดื่มน้ำบ่อยๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ การดูแลรักษาลิ้น



ในยามปกติ เราก็ควรระวังรักษาลิ้นมิให้เป็นโรคหรืออันตรายต่างๆ ด้วยการทำความสะอาดลิ้นอยู่เสมอ เวลากินอาหารควรค่อยๆ เคี้ยว ไม่ควรรีบร้อน เพราะอาจกัดลิ้นตนเองเป็นแผลได้และไม่ควรกินอาหารที่ร้อนมากๆ หรืออาหารที่มีรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เพราะทำให้ลิ้นชาได้ หมั่นสังเกตว่าลิ้นเป็นฝ้าขาว หรือเป็นแผลหรือไม่ ถ้ามีอาการผิดปกติดังกล่าวก็ควรรีบรักษา

ผิวหนัง




ผิวหนัง


ผิวหนังทำหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. เป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มร่างกาย
2. เป็นอวัยวะรับความรู้สึก
ผิวหนังถือว่าเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดภายในร่างกายมีเนื้อที่มากถึง 2 ตร.ม.เลยทีเดียว ผิวหนังตามส่วนต่างๆของร่างกายมีความหนาไม่เท่ากัน เช่นเปลือกตาเป็นส่วนที่บางที่สุด มีความหนาน้อยกว่า 0.5 มม. ส่วนผิวหนังที่หลังจะมีความหนามากถึง 5 มม.แต่โดยทั่วไปผิวหนังจะมีความหนาประมาณ 1-2 มม. ผิวหนังมีพื้นที่ในการรับความรู้สึกมากกว่าอวัยวะรับความรู้สึกชนิดอื่น

ผิวหนังจะมีหน่วยรับความรู้สึกแต่ละประเภทโดยเฉพาะ หน่วยรับความรู้สึกเหล่านี้อาจจะอยู่ตื้นหรือลึกจากผิวหนังในระดับต่างๆกันซึ่งหน่วยรับความรู้สึกนี้พัฒนามาจากส่วนปลายของเดนไดรต์ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกให้มีรูปร่างเฉพาะเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยรับความรู้สึกชนิดต่างๆได้แก่
1. หน่วยรับความรู้สึกเกี่ยวกับการสัมผัส
2. หน่วยรับความรู้สึกเกี่ยวกับแรงกด หรือความดัน
3. หน่วยรับความรู้สึกเกี่ยวกับอุณหภูมิ ( ทั้งความร้อนและความเย็น )
4. หน่วยรับความรู้สึกเกี่ยวกับความเจ็บปวด

จมูก

จมูก
โครงสร้างที่สำคัญที่พบภายในโพรงจมูก
เซลล์ประสาทรับกลิ่น ( olfactory neuron ) : พบที่เยื่อบุโพรงจมูก เป็นเซลล์ประสาท 2 ขั้ว ที่มีขน( cilia )ซึ่งจะจับหรือรับการกระตุ้นจากโมเลกุลของสาร
เส้นประสาทรับกลิ่น ( olfactory nerve ) : เป็นเส้นประสาทสมองคู่ที่1ติดต่อกับส่วนของสมองออลแฟกทอรีบัลบ์ แล้วส่งกระแสประสาทไปสมองเซรีบรัมส่วนที่เกี่ยวกับการดมกลิ่นเพื่อให้แปลผลเป็นกลิ่นต่างๆ
เซลล์ค้ำจุน ( supporting cell ) : เป็นเซลล์ที่ช่วยสร้างสารเมือกเครือบชั้นเยื่อบุโพรงจมูกเพื่อช่วยการรับกลิ่นและดักจับฝุ่นละอองที่ปนมากับอากาศ

ลูกตา

ลูกตา

เป็นรูปกลม อยู่ในส่วนหน้าของเบ้าตา แต่ไม่กลมทีเดียว วัดจากหน้าไปหลัง วัดตามขวางและวัดตามสูงได้เกือบเท่ากัน ยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ปริมาตรประมาณ ๘ มิลลิลิตร หญิงมีลูกตาใหญ่กว่าชายเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวหรือเทียบกับขนาดของเบ้าตา ลูกตาของทารกก็ใหญ่กว่าผู้ใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของเบ้าตา

ผนังของลูกตาประกอบด้วยผนังโดยรอบ ๓ ชั้น คือ ชั้นนอก (fibrous coat)เป็นพังผืด แข็ง ชั้นกลาง (vascular coat) เป็นชั้นหลอดเลือดขนาดเล็กปะปนกับเซลล์สี (pigmented cells) บางส่วนเป็นกล้ามเนื้อเรียบ และชั้นใน เป็นชั้นประสาท

ชั้นนอก แบ่งได้เป็นส่วนทึบแสงทางข้างหลัง เรียกว่า สเคลอรา (sclera)กับส่วนที่โปร่งแสงทางข้างหน้า เรียกว่า คอร์เนีย (cornea)
สเคลอรา มีประมาณ ๕ ใน ๖ ของลูกตา มีสีขาว แข็ง และมีสีน้ำเงินอ่อนในทารก แต่ในผู้ใหญ่และคนชราจะมีสีเหลืองหนาประมาณ ๐.๕-๐.๖ มิลลิเมตร ชาวบ้านเรียกว่า ส่วนตาขาว
คอร์เนีย มีประมาณ ๑ ใน ๖ ของลูกตา เป็นส่วนใสหนากว่าสเคลอราเล็กน้อย และโค้งมากกว่าสเคลอรา ในคนหนุ่มสาว ส่วนนี้จะโค้งมากกว่าในคนชรา ถ้าความโค้งผิดปกติหรือไม่เท่ากัน จะทำให้มองเห็นไม่ชัด เรียกว่า สายตาเอียง คอร์เนีย ต่อกับ สเคลอรา ตรงรอยต่อที่เห็นได้จากภายนอก ตรงขอบตาดำต่อกับตาขาว

ชั้นกลาง เป็นชั้นที่ประกอบด้วยหลอดเลือดขนาดเล็กหลอดเลือดฝอย และมีเซลล์ที่มีสี ทำให้เกิดเป็นชั้นสีดำ ทางส่วนหลัง แนบชิดกับด้านในของสแคลอรา เรียกว่า คอรอยด์ (choroid)ทางส่วนหน้าใกล้กับรอยต่อของคอร์เนีย และ สเคลอราจะดัดแปลงเป็น ซิลิอารีบอดี (ciliary body)และ ม่านตา (Iris)
ซิลิอารีบอดี แบ่งได้เป็น ๓ เขต คือ เขต ๑ เป็นเขตเรียบกว้างประมาณ ๔ มิลลิเมตร ต่อจากคอรอยด์ เขต ๒ เป็นเขตที่มีสันนูนชัดเจน เรียงเป็นรัศมีโดยรอบขอบของม่านตากว้าง ๒ มิลลิเมตร อยู่ระหว่าง เขต ๑ กับขอบของม่านตา เขต ๓ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียงตัวโดยรอบ และเป็นรัศมี เมื่อกล้ามเนื้อนี้หดตัวจะทำให้เอ็นยึดเลนส์ และเลนส์ของลูกตาหย่อน จึงเกี่ยวกับการเพ่งให้เห็นชัด
ม่านตา เป็นเยื่ออยู่หน้าเลนส์ ตรงกลางมีรูกลม เรียกว่า รูม่านตา (pupil) ม่านตาหนาเกือบเท่ากันตลอด ขอบนอกของม่านตาติดต่อกับ ซิลิอารีบอดี สีของตาจึงขึ้นอยู่จำนวนเม็ดสีภายในม่านตา ในชนเชื้อชาติยุโรป มีเม็ดสีในม่านตาน้อย หรือไม่มีเม็ดสีเลย ตาจึงมีสีฟ้าหรือเทา ในชนเชื้อชาติเอเชีย มีเม็ดสีในม่านตามาก ตาจึงมีสีดำ ภายในม่านตา มีกล้ามเนื้อเรียบ ควบคุมให้รูม่านตาแคบลงหรือกว้างขึ้นได้ ในขณะที่ตื่นอยู่ จะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดของรูม่านตาตลอดเวลา เพื่อควบคุมจำนวนแสงที่เข้าสู่ลูกตา

ชั้นใน เป็นชั้นประสาท เรียกว่า เรตินา ประกอบเป็นชั้นบางและนุ่ม ประกอบด้วยเซลล์ประสาท เส้นใยประสาท และเซลล์รับแสง (rod and cone cells) เส้นใยประสาทจากชั้นนี้จะออกทางปลายหลังของลูกตาไปสู่สมอง เพื่อแปลเป็นภาพแสง และสีต่างๆ ชั้นประสาทของลูกตานี้ โปร่งแสงตลอดชีวิต มีสีม่วงอ่อนแต่ภายหลังตายไม่นานก็จะทึบแสงและมีสีเทา คลื่นแสงที่จะผ่านไปถึงเรตินา ต้องผ่านสิ่งต่างๆ ที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน เช่น คอร์เนีย สารน้ำ (aqueous humour)เลนส์ และสารวุ้น (vitous body)เหล่านี้ประกอบเป็นตัวกลางหักเหแสง (refracting media)ของลูกตาและอยู่ภายในลูกตา สารน้ำ มีดัชนีหักเห ๑.๓๓๖ ประกอบด้วยน้ำ ๙๘% โซเดียมคลอไรด์ ๑.๔๑% และ อัลบูมิน (albumin)เล็กน้อยอยู่ระหว่างคอร์เนีย กับ เลนส์
เลนส์ อยู่หลังม่านตา มีรูปร่างคล้ายกระจก กลมนูน โค้ง ใส โปร่งแสง ตรงกลางหนาประมาณ ๔ มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๙-๑๐ มิลลิเมตร ทางด้านหลังโค้งมากกว่าด้านหน้า ความโค้งของเลนส์โดยเฉพาะทางด้านหน้าจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในขณะมีชีวิต เพื่อควบคุมให้ภาพตกลงบนเรตินา สำหรับการมองให้เห็นชัด ในทารก เลนส์จะนุ่มและมีสีชมพูอ่อน ในคนชราจะมีลักษณะแข็งขึ้น แบนขึ้น และมีสีเหลืองอ่อน จึงทำให้การมองเห็นชัดค่อยๆ ลดสมรรถภาพลงเรื่อยไปตามอายุ เรียกว่า สายตายาว (presbyopia) บางทีเลนส์ในคนชราขุ่นและทึบแสง เรียกว่าต้อกระจก (cataract) สารวุ้น เป็นของเหลว เหนียว ใส โปร่งแสง อยู่ในลูกตาระหว่างเลนส์ กับ เรตินาหนังตาหรือเปลือกตา มีเปลือกตาบนและล่างเคลื่อนไหวได้ อยู่หน้าลูกตาหนังตาบนใหญ่กว่า และเคลื่อนไหวได้มากกว่า โดยการดึงของกล้ามเนื้อดึงหนังตาบน ระหว่างหนังตา วัดตามขวางประมาณ ๓๐ มิลลิเมตร แต่ก็แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และแต่ละเชื้อชาติ เมื่อลืมตาช่องระหว่างหนังตาเป็นรูปรี เมื่อหลับตาในขณะนอนหลับ มันเป็นเพียงร่องตามขวาง ปลายทั้งสองของเปลือกตาบนและล่างมาจดกัน เรียกว่า มุมหัวตา และมุมหางตา ขอบของเปลือกตา แบน เรียบ และที่ขอบหน้ามีขนตางอกออกมา และหลังขนตามีรูเปิดของต่อมเปลือกตา (tarsalgland) เรียงเป็นแถว ประมาณ ๖ มิลลิเมตร จากมุมหัวตาของเปลือกตา มีรอยนูนเป็นปุ่ม เรียกว่า ปุ่มน้ำตา และที่ยอดของปุ่มนี้มีรูเปิดเล็กๆ ของท่อน้ำตาจากปุ่มนี้ถึงมุมหัวตา ขอบเปลือกตาจะกลมแบน และไม่มีขนตา

ภายในแต่ละเปลือกตา มีแผ่นเนื้อเยื่อพังผืดค่อนข้างแข็ง เรียกว่า แผ่นเปลือกตา (tarsal plate) แผ่นเปลือกตาอันบนใหญ่กว่า คล้ายครึ่งรูปไข่ ซึ่งขอบล่างหนาและตรง แต่ขอบบนโค้ง แผ่นเปลือกตาอันล่าง มีลักษณะเป็นแถบแคบๆ กว้างเท่ากันโดยตลอด ประมาณ ๕ มิลลิเมตร ภายในแผ่นเปลือกตานี้มีต่อมเปลือกตาเรียงเป็นแถวประมาณ ๒๐-๓๐ ต่อม ซึ่งมีรูเปิดอยู่หลังต่อมขนตา หน้าแผ่นเปลือกตา เป็นกล้ามเนื้อลายบางๆ เพื่อใช้ในการหลับตา และมีผิวหนังคลุมกล้ามเนื้ออีกชั้นหนึ่ง ผิวหนังของเปลือกตาค่อนข้างบาง และเยื่อใต้หนังค่อนข้างหลวม และไม่มีไขมันเยื่อบุตา เป็นเยื่อบุบางๆ บุด้านลึกของเปลือกตาและติดกันแน่นและยังคลุมด้านหน้าของลูกตาส่วนสเคลอราด้วยอย่างหลวมๆ รอยพับระหว่างเยื่อบุตาของเปลือกตาและของด้านหน้าลูกตา เรียกว่า ฟอร์นิกซ์ (fornix)อวัยวะสำหรับหลั่งน้ำตา ได้แก่ ต่อมน้ำตา หลอดน้ำตา และถุงน้ำตา ต่อมน้ำตา ขนาดประมาณปลายนิ้วมือ อยู่ในเบ้าตาตรงมุมบนใกล้ริม และยื่นไปถึงมุมหางตา มีท่อเล็กๆ ประมาณ ๓-๙ ท่อ ไปเปิดสู่ฟอร์นิกซ์บนเยื่อบุตา เพื่อทำให้ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ และยังช่วยชะล้างฝุ่นละออง และสิ่งแปลกปลอมที่เข้าตา
หลอดน้ำตา เป็นหลอดเล็กๆ อยู่ในเปลือกตาบนและล่าง เหนือและล่างมุมหัวตา เริ่มต้นจากรูที่ยอดของปุ่มน้ำตายาวประมาณ ๑๐ มิลลิเมตร ทอดไปสู่ถุงน้ำตา จึงเป็นทางระบายน้ำตาด้านหน้าของลูกตาไปสู่ถุงน้ำตา
ถุงน้ำตา อยู่หลังผิวหนังบริเวณระหว่างมุมหัวตาของเปลือกตากับดั้งจมูก จากถุงน้ำตามีท่อยาวประมาณ ๑๘ มิลลิเมตร กว้าง ๓-๔ มิลลิเมตร ไปเปิดสู่ช่องจมูกส่วนหน้าในขณะร้องไห้ ต่อมน้ำตาจะหลั่งน้ำตาออกมามาก บางส่วนก็ล้นไปสู่แก้ม บางส่วนผ่านหลอดน้ำตา ถุงน้ำตา ไปตามท่อสู่โพรงจมูก น้ำตาและน้ำมูกรวมกันเป็นขี้มูกโป่ง

ส่วนประกอบของตากับการมองเห็น
ส่วนประกอบของนัยน์ตา นัยน์ตาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการมองเห็น นัยน์ตามีเซลล์รับทำหน้าที่รับแสงสว่างโดยเฉพาะ ทำให้สามารถ มองเห็นสิ่งต่างได้และสามารถบอกสีของ วัตถุนั้นๆได้สามารถแบ่งออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ได้ดังนี้
กระจกตา (Cornea) เป็นเนื้อเยื่อโปร่งใสอยู่ด้านหน้าสุดของนัยน์ตา กระจกตาทำหน้าที่รับและให้แสงผ่านเข้าสู่ภาย ใน ปัจจุบันถ้ากระจกตาเสีย สามารถสามารถเปี่ยนกระจกตาได้ โดยนำกระจกตาของผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้วาเปลี่ยนทดแทนได้
ม่านตา (lris) เป็นส่วนที่เป็นสีของนัยน์ตา ซึ่งอาจมีสีดำ สีน้ำตาลหรือสีฟ้าตามเชื้อชาติ ม่านตาทำหน้าที่ควบคุม การขยายของรูม่านตาเพื่อให้ปริมาณแสงที่ผ่านเข้าไปสู่เลนส์ตา อยู่ในระดับพอเหมาะ เมื่อแสงสว่างมาก ม่านตาจะควบคุม ให้รูม่านตาเปิดน้อย และเมื่อแสงสว่างน้อยก็จะควบคุมให้รูม่านตาเ้ปิดกว้าง
รูม่านตา (Pupil) เป็นสีดำอยู่ตรงกลางม่านตา ทำหน้าที่เป็นช่องทำให้แสงผ่านไปสู่เลนส์ตา
เลนส์ตา (Lens) เป็นเลนส์นูนที่สามารถยืดหยุ่นได้เนื่องจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาเลนส์ตาทำหน้าที่โฟกัสภาพให้ไปตกบนเรตินาการทำงานของเซลล์รูปแท่ง เซลล์รูปแท่งทำหน้าที่รับแสงทำให้มองเห็นรูปร่างของวัตถุต่างๆ ได้ การทำงานของเซลล์รูปกรวย เซลล์รูปกรวยทำหน้าที่รับสีให้มองเห็นวัตถุมีสีต่างๆ เซลล์รูปกรวยจะทำงานได้ดี ต้องมีแสงสว่างมาก โฟเวีย (Fovea) หรือจุดดวงเหลือง เป็นแอ่งเล็กๆ บริเวณจอตาเป็นบริเวณที่มีเซลล์รูปกรวยอยู่หนาแน่นที่สุด จึงเป็นบริเวณที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด จุดบอดแสง (Blind spot) เป็นบริเวณที่เส้นประสาทและเส้นเลือด ผ่านเข้าสู่ในตา ไม่มีเซลล์รูปแท่งหรอเซลล์รูปกรวยเลยังนั้นถ้าแสงตกบริเวณนี้ เราจะมองไม่เห็นวัตถุนั้นเลย โฟเวีย (Fovea) หรือจุดดวงเหลือง เป็นแอ่งเล็กๆ บริเวณจอตาเป็นบริเวณที่มีเซลล์รูปกรวยอยู่หนาแน่นที่สุดจึงเป็นบริเวณ ที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด
จุดบอดแสง (Blind spot) เป็นบริเวณที่เส้นประสาทและเส้นเส้นเลือดผ่านเข้าสู่ในตา ไม่มีเซลล์รูปแท่ง หรือเซลล์รูปกรวยเลย ดังนั้น ถ้าแสงตกบริเวณนี้เราจะมองไม่เห็นวัตถุนั้นเลย
เปลือกตา (Rid) เป็นส่วนที่ปิดเลนส์ในตา ป้องกันสิ่งสกปรกเศษผงต่างๆ เข้าตา
กระบอกตา (Sclera) เป็นเยื่อชั้นนอกสุด หนาและเหนียว ทำให้ลูกตาคงรูป มีส่วนประกอบสำคัญได้แก่ ส่วนตาขาวและ กระจกตา

ตาและการมองเห็น
นัยน์ตาเป็นสิ่งที่ทำให้มองเห็นภาพต่างๆ ได้ โดยแสงจากวัตถุจะสะท้อนเข้าสู่นัยน์ตา ซึ่งนัยน์ตามีลักษณะ การทำงานคล้ายคลึง กับกล้องถ่ายรูป กล่าวคือ ขณะที่เรากำลังมองวัตถุใดๆ อยู่นั้นก็เหมือนกับเรากำลังถ่ายภาพ สีธรรมชาติของวัตถุนั้นๆ อยู่ ซึ่งตาของเราคล้ายกับกล้องถ่ายรูปคือ มีกระบอกตา เทียบกับเรือนกล้อง เรตินา เทียบกับฟิล์มเลนส์ตาเทียบกับเลนส์กล้อง เปลือกตาเทียบกับชัต เตอร์ของกล้อง และม่านตาเทียบกับ ไดอะแฟรม ของกล้อง

ลักษณะของการมองเห็น
เมื่อแสงสีสะท้อนจากวัตถุหรือแสงจากแหล่งกำเนิดแสง ผ่านเข้าสู่นัยน์ตาม่านตาจะทำหน้าที่ปรับแสงให้เข้าสูู่่นัยน์ตา อย่างอัตโนมัติเมื่อแสงเข้าไป เลนส์ตาจะทำหน้าที่ปรับโฟกัสของแสง เพื่อให้ไปตกที่จอตา อย่างพอเหมาะและแสวจะไปกระตุ้นเซลล์รับแสงที่บริเวณจอตา แล้วเซลล์รับแสงจะส่งสัญญาณกระตุ้นไปยังสมอง เพื่อแปลความหมาย ของแสงสี ที่เข้าสู่นัยน์ตา ความผิดปกติของสายตาอาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น สายตาสั้น สายตายาวและสายตาเอียง ความผิดปกติเหล่านี้ สามารถแก้ไขได้ โดยใช้เลนส์เว้าหรือเลนส์นูนเข้าช่วยในการมองเห็นการเห็นภาพลวงตาที่มองเห็นผิดไปจากสภาพความเป็นจริง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เช่น คนสูงต้องใส่เสื้อลายขวาง คนเตี้ยต้องใส่เสื้อลายตั้งองค์ประกอบของวัตถุในการมองเห็น

การที่เราจะมองเห็นวัตถุได้ชัดเจนหรือมองไม่เห็น จะต้องขึ้นอยู่องค์ประกอบต่อไปนี้
1. ขนาดของวัตถุ
2. ความเข้มของแสงที่ส่องวัตถุ
3. ความเข้มของฉากอ้างอิง
4. เวลาในการมองเห็น

ขนาดของวัตถุ
ขนาดของวัตถุมีความสำคัญมากในการมองเห็นในความเป็นจริงวัตถุที่มีขนาดใหญ่จะต้องมองเห็นได้ชัดกว่าวัตถุขนาดเล็กโดยเฉพาะในระยะทางที่ยิ่งไกลวัตถุขนาดเล็กยิ่งมองเห็นได้ยากกว่าวัตถุขนาดใหญ่

ความเข้มของแสงที่กล่องวัตถุในการมองเห็นวัตถุจะต้องอาศัยแสงสว่างที่ส่องไปยังวัตถุสัตถุที่มีการสะท้อนแสงได้ดีก็จะเห็นชัดเจนกว่าวัตถุที่ไม่สะท้อนแสง เช่นก้อนหินสีดำ กับก้อนหินสีขาว เมื่อใช้แสงส่องเข้าไปโดยมีปริมาณแสงเท่ากัน หรือนำไปวางไว้ที่มืดๆ ก้อนหินสีขาวจะต้องเห็นชัดกว่าก้อนหินสีดำ อีกลักษณะหนึ่งคือในวัตถุชนิดเดียวกันแต่ใช้แสงส่องต่างกัน วัตถุที่แสงส่องมากมากจะต้องเห็นชัดเจนมากกว่า ความเข้มของฉากอ้างอิงลักษณะของฉากอ้างอิงทำให้มีผลต่อการมองเห็นด้วยเหมือนกันวัตถุที่สีเดียวกันกับฉากจะทำให้การมองเห็นยากกว่า วัตถุที่สีตัดกัน เช่น ฉากสีขาว วัตถุสีดำ ก็จะทำให้เห็นวัตถุง่ายขึ้น
เวลาในการมองเห็นในการมองเห็นจะต้องเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและต้องใช่เวลาเพื่อให้เกิดลักษณะการมองเห็น เพราะฉะนั้น เมื่อวัตถุที่การเคลื่อนไหวรวดเร็วก็ทำยากต่อการมองเห็นกว่าวัตถุที่นิ่งอยู่กับที่ เวลาจึงมีความสำคัญต่อการมองเห็นมาก

ลักษณะความผิดปกติของสายตา
ลักษณะความผิดปกติของสายตาคือ การมองภาพที่อยู่ใกล้หรือไกลไม่ชัดเจน เนื่องจากความผิดปกติเกี่ยวกับสายตาที่ผิดปกติไป เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงเป็นต้น ซึ่งปัจจุบันสามารถแก้ไขความผิดปกติโดยการใช้เลนส์ชนิดต่าง ๆ เพื่อช่วยให้มองเห็นภาพได้ชัดเจน คนสายตาปกติมองดูวัตถุได้ชัดในระยะที่ใกล้สุดประมาณ 25 เซนติเมตร และระยะไกลสุดที่สามารถเห็นได้ชัด คือระยะอนันต์การมองท้องฟ้าไกล ๆเรารู้สึกสบายตา เนื่องจากกล้ามเนื้อตาได้พักไม่ต้องทำงานเพื่อปรับเลนส์ตาเหมือนขณะที่มองวัตถุในระยะใกล้
คนสายตาปกติ


- สำหรับคนทีสายตาปกติจุดใกล้ที่อยู่ระยะ 25 เซนติเมตรจากตาดังรูป



- สำหรับคนที่มีสายตาปกติจุดไกลจะอยู่ระยะไกลมากหรือระยะอนันต์ดังรูป




คนสายตาสั้น (Short sight) คือ คนที่มองเห็นวัตถุได้ชัดเจนในระยะใกล้กว่า 25 เซนติเมตรดังรูป


สาเหตุของสายตาสั้น เกิดเนื่องจาก 1. กระบอกตายาวเกินไป ทำให้ภาพที่ตกจะตกก่อนถึงเรตินา (จอตา) 2. เลนส์ตานูนเกินไปหรือกระจกตาโค้งมากเกินไป ทำให้ภาพของวัตถุที่ไปตกจะตกก่อนถึงเรตินา (จอตา) วิธีแก้คนสายตาสั้น ให้ใช้แว่นที่ทำด้วยเลนส์เว้าดังรูป


คนสายตายาว (Long sight) คือ คนที่มองวัตถุได้ชัดเจนในระยะไกลกว่า 25 เซนติเมตรดังรูป



สาเหตุของสายตายาว
เกิดเนื่องจาก

1. กระบอกตาสั้นเกินไป ทำให้ภาพที่ไปตกจะตกก่อนเรตินา (จอภาพ)
2. เลนส์ตาแฟบเกินไป หรือกระจกตาโค้งน้อยเกินไป ทำให้ภาพวัตถุที่ไปตกจะตกเลยเรตินา (จอตา) ออกไป วิธีแก้คนสายตายาว ให้ใช้แว่น ที่ทำด้วยเลนส์นูนดังรูป


สายตาของคนสูงอาย มองระยะใกล้ชัดที่ระยะมากกว่า 25 เซนติเมตรมองไกลไม่ถึงระยะอนันต์แว่นสำหรับ คนสูงอายุะใช้แว่นที่ใช้ดูได้ ทั้งระยะใกล้และระยะไกลซึ่งประกอบด้วยเลนส์สองชนิดที่มีความยาวโฟกัส ต่างกัน คือแว่นที่ทำด้วยเลนส์ชนิดไบโฟคัสเลนส์ (Bifocal lens) ไบโฟคัสเลนส์ หมายถึงเลนส์ที่มีความยาวโฟกัส 2 ชนิดประกอบกัน ใช้สำหรับดูวัตถุในระยะใกล้และระยะไกล สายตาเอียง (Astigmatism) เกิดจากความโค้ง ของกระจกตาหรือเลนส์ไม่เป็นผิวของทรงกลม ทำให้มองเห็นวัตถุชัดเพียงแนวเดียวซึ่งอาจจะเห็นชัดในแนวดิ่ง แต่ไม่เห็นไม่ชัดในแนวระดับ หรือชัดในแนวระดับแต่เห็นไม่ชัดในแนวดิ่ง วิธีสายตาเอียงให้ใช้มือปิดตาข้างหนึ่งแล้วมองรูปโดยทำทีละข้าง ถ้าเห็นเส้นที่อยู่ระหว่างแนวระดับกับแนวดิ่งเป็นสีดำเท่ากันแสดงว่าสายตาปกติ ถ้าเห็นเป็นสีเทาความเข้มไม่เท่ากันแสดงว่าสายตาเอียงวิธีแก้สายตาเอียงคือ ใช้แว่นที่ทำด้วยเลนส์กาบกล้วยชนิดเว้าและชนิดนูน
สายตาเอียง (Astigmatism) เกิดจากความโค้งของกระจกตาหรือเลนส์ ไม่เป็นผิวของทรงกลม ทำให้มองเห็นวัตถุชัดเพียงแนวเดียว ซึ่งอาจจะเห็นชัดในแนวดิ่งแต่ไม่เห็นไม่ชัดในแนวระดับ หรือชัดในแนวระดับแต่เห็นไม่ชัดในแนวดิ่ง วิธีสายตาเอียง ให้ใช้มือปิดตาข้างหนึ่งแล้วมองรูป โดยทำทีละข้าง ถ้าเห็นเส้นที่อยู่ระหว่างแนวระดับกับแนวดิ่ง เป็นสีดำเท่ากันแสดงว่าสายตาปกติ ถ้าเห็นเป็นสีเทาความเข้มไม่เท่ากันแสดงว่าสายตาเอียงวิธีแก้สายตาเอียงคือใช้แว่นที่ทำด้วยเลนส์กาบกล้วยชนิดเว้าและชนิดนูน