วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

ลูกตา

ลูกตา

เป็นรูปกลม อยู่ในส่วนหน้าของเบ้าตา แต่ไม่กลมทีเดียว วัดจากหน้าไปหลัง วัดตามขวางและวัดตามสูงได้เกือบเท่ากัน ยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ปริมาตรประมาณ ๘ มิลลิลิตร หญิงมีลูกตาใหญ่กว่าชายเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวหรือเทียบกับขนาดของเบ้าตา ลูกตาของทารกก็ใหญ่กว่าผู้ใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของเบ้าตา

ผนังของลูกตาประกอบด้วยผนังโดยรอบ ๓ ชั้น คือ ชั้นนอก (fibrous coat)เป็นพังผืด แข็ง ชั้นกลาง (vascular coat) เป็นชั้นหลอดเลือดขนาดเล็กปะปนกับเซลล์สี (pigmented cells) บางส่วนเป็นกล้ามเนื้อเรียบ และชั้นใน เป็นชั้นประสาท

ชั้นนอก แบ่งได้เป็นส่วนทึบแสงทางข้างหลัง เรียกว่า สเคลอรา (sclera)กับส่วนที่โปร่งแสงทางข้างหน้า เรียกว่า คอร์เนีย (cornea)
สเคลอรา มีประมาณ ๕ ใน ๖ ของลูกตา มีสีขาว แข็ง และมีสีน้ำเงินอ่อนในทารก แต่ในผู้ใหญ่และคนชราจะมีสีเหลืองหนาประมาณ ๐.๕-๐.๖ มิลลิเมตร ชาวบ้านเรียกว่า ส่วนตาขาว
คอร์เนีย มีประมาณ ๑ ใน ๖ ของลูกตา เป็นส่วนใสหนากว่าสเคลอราเล็กน้อย และโค้งมากกว่าสเคลอรา ในคนหนุ่มสาว ส่วนนี้จะโค้งมากกว่าในคนชรา ถ้าความโค้งผิดปกติหรือไม่เท่ากัน จะทำให้มองเห็นไม่ชัด เรียกว่า สายตาเอียง คอร์เนีย ต่อกับ สเคลอรา ตรงรอยต่อที่เห็นได้จากภายนอก ตรงขอบตาดำต่อกับตาขาว

ชั้นกลาง เป็นชั้นที่ประกอบด้วยหลอดเลือดขนาดเล็กหลอดเลือดฝอย และมีเซลล์ที่มีสี ทำให้เกิดเป็นชั้นสีดำ ทางส่วนหลัง แนบชิดกับด้านในของสแคลอรา เรียกว่า คอรอยด์ (choroid)ทางส่วนหน้าใกล้กับรอยต่อของคอร์เนีย และ สเคลอราจะดัดแปลงเป็น ซิลิอารีบอดี (ciliary body)และ ม่านตา (Iris)
ซิลิอารีบอดี แบ่งได้เป็น ๓ เขต คือ เขต ๑ เป็นเขตเรียบกว้างประมาณ ๔ มิลลิเมตร ต่อจากคอรอยด์ เขต ๒ เป็นเขตที่มีสันนูนชัดเจน เรียงเป็นรัศมีโดยรอบขอบของม่านตากว้าง ๒ มิลลิเมตร อยู่ระหว่าง เขต ๑ กับขอบของม่านตา เขต ๓ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียงตัวโดยรอบ และเป็นรัศมี เมื่อกล้ามเนื้อนี้หดตัวจะทำให้เอ็นยึดเลนส์ และเลนส์ของลูกตาหย่อน จึงเกี่ยวกับการเพ่งให้เห็นชัด
ม่านตา เป็นเยื่ออยู่หน้าเลนส์ ตรงกลางมีรูกลม เรียกว่า รูม่านตา (pupil) ม่านตาหนาเกือบเท่ากันตลอด ขอบนอกของม่านตาติดต่อกับ ซิลิอารีบอดี สีของตาจึงขึ้นอยู่จำนวนเม็ดสีภายในม่านตา ในชนเชื้อชาติยุโรป มีเม็ดสีในม่านตาน้อย หรือไม่มีเม็ดสีเลย ตาจึงมีสีฟ้าหรือเทา ในชนเชื้อชาติเอเชีย มีเม็ดสีในม่านตามาก ตาจึงมีสีดำ ภายในม่านตา มีกล้ามเนื้อเรียบ ควบคุมให้รูม่านตาแคบลงหรือกว้างขึ้นได้ ในขณะที่ตื่นอยู่ จะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดของรูม่านตาตลอดเวลา เพื่อควบคุมจำนวนแสงที่เข้าสู่ลูกตา

ชั้นใน เป็นชั้นประสาท เรียกว่า เรตินา ประกอบเป็นชั้นบางและนุ่ม ประกอบด้วยเซลล์ประสาท เส้นใยประสาท และเซลล์รับแสง (rod and cone cells) เส้นใยประสาทจากชั้นนี้จะออกทางปลายหลังของลูกตาไปสู่สมอง เพื่อแปลเป็นภาพแสง และสีต่างๆ ชั้นประสาทของลูกตานี้ โปร่งแสงตลอดชีวิต มีสีม่วงอ่อนแต่ภายหลังตายไม่นานก็จะทึบแสงและมีสีเทา คลื่นแสงที่จะผ่านไปถึงเรตินา ต้องผ่านสิ่งต่างๆ ที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน เช่น คอร์เนีย สารน้ำ (aqueous humour)เลนส์ และสารวุ้น (vitous body)เหล่านี้ประกอบเป็นตัวกลางหักเหแสง (refracting media)ของลูกตาและอยู่ภายในลูกตา สารน้ำ มีดัชนีหักเห ๑.๓๓๖ ประกอบด้วยน้ำ ๙๘% โซเดียมคลอไรด์ ๑.๔๑% และ อัลบูมิน (albumin)เล็กน้อยอยู่ระหว่างคอร์เนีย กับ เลนส์
เลนส์ อยู่หลังม่านตา มีรูปร่างคล้ายกระจก กลมนูน โค้ง ใส โปร่งแสง ตรงกลางหนาประมาณ ๔ มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๙-๑๐ มิลลิเมตร ทางด้านหลังโค้งมากกว่าด้านหน้า ความโค้งของเลนส์โดยเฉพาะทางด้านหน้าจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในขณะมีชีวิต เพื่อควบคุมให้ภาพตกลงบนเรตินา สำหรับการมองให้เห็นชัด ในทารก เลนส์จะนุ่มและมีสีชมพูอ่อน ในคนชราจะมีลักษณะแข็งขึ้น แบนขึ้น และมีสีเหลืองอ่อน จึงทำให้การมองเห็นชัดค่อยๆ ลดสมรรถภาพลงเรื่อยไปตามอายุ เรียกว่า สายตายาว (presbyopia) บางทีเลนส์ในคนชราขุ่นและทึบแสง เรียกว่าต้อกระจก (cataract) สารวุ้น เป็นของเหลว เหนียว ใส โปร่งแสง อยู่ในลูกตาระหว่างเลนส์ กับ เรตินาหนังตาหรือเปลือกตา มีเปลือกตาบนและล่างเคลื่อนไหวได้ อยู่หน้าลูกตาหนังตาบนใหญ่กว่า และเคลื่อนไหวได้มากกว่า โดยการดึงของกล้ามเนื้อดึงหนังตาบน ระหว่างหนังตา วัดตามขวางประมาณ ๓๐ มิลลิเมตร แต่ก็แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และแต่ละเชื้อชาติ เมื่อลืมตาช่องระหว่างหนังตาเป็นรูปรี เมื่อหลับตาในขณะนอนหลับ มันเป็นเพียงร่องตามขวาง ปลายทั้งสองของเปลือกตาบนและล่างมาจดกัน เรียกว่า มุมหัวตา และมุมหางตา ขอบของเปลือกตา แบน เรียบ และที่ขอบหน้ามีขนตางอกออกมา และหลังขนตามีรูเปิดของต่อมเปลือกตา (tarsalgland) เรียงเป็นแถว ประมาณ ๖ มิลลิเมตร จากมุมหัวตาของเปลือกตา มีรอยนูนเป็นปุ่ม เรียกว่า ปุ่มน้ำตา และที่ยอดของปุ่มนี้มีรูเปิดเล็กๆ ของท่อน้ำตาจากปุ่มนี้ถึงมุมหัวตา ขอบเปลือกตาจะกลมแบน และไม่มีขนตา

ภายในแต่ละเปลือกตา มีแผ่นเนื้อเยื่อพังผืดค่อนข้างแข็ง เรียกว่า แผ่นเปลือกตา (tarsal plate) แผ่นเปลือกตาอันบนใหญ่กว่า คล้ายครึ่งรูปไข่ ซึ่งขอบล่างหนาและตรง แต่ขอบบนโค้ง แผ่นเปลือกตาอันล่าง มีลักษณะเป็นแถบแคบๆ กว้างเท่ากันโดยตลอด ประมาณ ๕ มิลลิเมตร ภายในแผ่นเปลือกตานี้มีต่อมเปลือกตาเรียงเป็นแถวประมาณ ๒๐-๓๐ ต่อม ซึ่งมีรูเปิดอยู่หลังต่อมขนตา หน้าแผ่นเปลือกตา เป็นกล้ามเนื้อลายบางๆ เพื่อใช้ในการหลับตา และมีผิวหนังคลุมกล้ามเนื้ออีกชั้นหนึ่ง ผิวหนังของเปลือกตาค่อนข้างบาง และเยื่อใต้หนังค่อนข้างหลวม และไม่มีไขมันเยื่อบุตา เป็นเยื่อบุบางๆ บุด้านลึกของเปลือกตาและติดกันแน่นและยังคลุมด้านหน้าของลูกตาส่วนสเคลอราด้วยอย่างหลวมๆ รอยพับระหว่างเยื่อบุตาของเปลือกตาและของด้านหน้าลูกตา เรียกว่า ฟอร์นิกซ์ (fornix)อวัยวะสำหรับหลั่งน้ำตา ได้แก่ ต่อมน้ำตา หลอดน้ำตา และถุงน้ำตา ต่อมน้ำตา ขนาดประมาณปลายนิ้วมือ อยู่ในเบ้าตาตรงมุมบนใกล้ริม และยื่นไปถึงมุมหางตา มีท่อเล็กๆ ประมาณ ๓-๙ ท่อ ไปเปิดสู่ฟอร์นิกซ์บนเยื่อบุตา เพื่อทำให้ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ และยังช่วยชะล้างฝุ่นละออง และสิ่งแปลกปลอมที่เข้าตา
หลอดน้ำตา เป็นหลอดเล็กๆ อยู่ในเปลือกตาบนและล่าง เหนือและล่างมุมหัวตา เริ่มต้นจากรูที่ยอดของปุ่มน้ำตายาวประมาณ ๑๐ มิลลิเมตร ทอดไปสู่ถุงน้ำตา จึงเป็นทางระบายน้ำตาด้านหน้าของลูกตาไปสู่ถุงน้ำตา
ถุงน้ำตา อยู่หลังผิวหนังบริเวณระหว่างมุมหัวตาของเปลือกตากับดั้งจมูก จากถุงน้ำตามีท่อยาวประมาณ ๑๘ มิลลิเมตร กว้าง ๓-๔ มิลลิเมตร ไปเปิดสู่ช่องจมูกส่วนหน้าในขณะร้องไห้ ต่อมน้ำตาจะหลั่งน้ำตาออกมามาก บางส่วนก็ล้นไปสู่แก้ม บางส่วนผ่านหลอดน้ำตา ถุงน้ำตา ไปตามท่อสู่โพรงจมูก น้ำตาและน้ำมูกรวมกันเป็นขี้มูกโป่ง

ส่วนประกอบของตากับการมองเห็น
ส่วนประกอบของนัยน์ตา นัยน์ตาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการมองเห็น นัยน์ตามีเซลล์รับทำหน้าที่รับแสงสว่างโดยเฉพาะ ทำให้สามารถ มองเห็นสิ่งต่างได้และสามารถบอกสีของ วัตถุนั้นๆได้สามารถแบ่งออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ได้ดังนี้
กระจกตา (Cornea) เป็นเนื้อเยื่อโปร่งใสอยู่ด้านหน้าสุดของนัยน์ตา กระจกตาทำหน้าที่รับและให้แสงผ่านเข้าสู่ภาย ใน ปัจจุบันถ้ากระจกตาเสีย สามารถสามารถเปี่ยนกระจกตาได้ โดยนำกระจกตาของผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้วาเปลี่ยนทดแทนได้
ม่านตา (lris) เป็นส่วนที่เป็นสีของนัยน์ตา ซึ่งอาจมีสีดำ สีน้ำตาลหรือสีฟ้าตามเชื้อชาติ ม่านตาทำหน้าที่ควบคุม การขยายของรูม่านตาเพื่อให้ปริมาณแสงที่ผ่านเข้าไปสู่เลนส์ตา อยู่ในระดับพอเหมาะ เมื่อแสงสว่างมาก ม่านตาจะควบคุม ให้รูม่านตาเปิดน้อย และเมื่อแสงสว่างน้อยก็จะควบคุมให้รูม่านตาเ้ปิดกว้าง
รูม่านตา (Pupil) เป็นสีดำอยู่ตรงกลางม่านตา ทำหน้าที่เป็นช่องทำให้แสงผ่านไปสู่เลนส์ตา
เลนส์ตา (Lens) เป็นเลนส์นูนที่สามารถยืดหยุ่นได้เนื่องจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาเลนส์ตาทำหน้าที่โฟกัสภาพให้ไปตกบนเรตินาการทำงานของเซลล์รูปแท่ง เซลล์รูปแท่งทำหน้าที่รับแสงทำให้มองเห็นรูปร่างของวัตถุต่างๆ ได้ การทำงานของเซลล์รูปกรวย เซลล์รูปกรวยทำหน้าที่รับสีให้มองเห็นวัตถุมีสีต่างๆ เซลล์รูปกรวยจะทำงานได้ดี ต้องมีแสงสว่างมาก โฟเวีย (Fovea) หรือจุดดวงเหลือง เป็นแอ่งเล็กๆ บริเวณจอตาเป็นบริเวณที่มีเซลล์รูปกรวยอยู่หนาแน่นที่สุด จึงเป็นบริเวณที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด จุดบอดแสง (Blind spot) เป็นบริเวณที่เส้นประสาทและเส้นเลือด ผ่านเข้าสู่ในตา ไม่มีเซลล์รูปแท่งหรอเซลล์รูปกรวยเลยังนั้นถ้าแสงตกบริเวณนี้ เราจะมองไม่เห็นวัตถุนั้นเลย โฟเวีย (Fovea) หรือจุดดวงเหลือง เป็นแอ่งเล็กๆ บริเวณจอตาเป็นบริเวณที่มีเซลล์รูปกรวยอยู่หนาแน่นที่สุดจึงเป็นบริเวณ ที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด
จุดบอดแสง (Blind spot) เป็นบริเวณที่เส้นประสาทและเส้นเส้นเลือดผ่านเข้าสู่ในตา ไม่มีเซลล์รูปแท่ง หรือเซลล์รูปกรวยเลย ดังนั้น ถ้าแสงตกบริเวณนี้เราจะมองไม่เห็นวัตถุนั้นเลย
เปลือกตา (Rid) เป็นส่วนที่ปิดเลนส์ในตา ป้องกันสิ่งสกปรกเศษผงต่างๆ เข้าตา
กระบอกตา (Sclera) เป็นเยื่อชั้นนอกสุด หนาและเหนียว ทำให้ลูกตาคงรูป มีส่วนประกอบสำคัญได้แก่ ส่วนตาขาวและ กระจกตา

ตาและการมองเห็น
นัยน์ตาเป็นสิ่งที่ทำให้มองเห็นภาพต่างๆ ได้ โดยแสงจากวัตถุจะสะท้อนเข้าสู่นัยน์ตา ซึ่งนัยน์ตามีลักษณะ การทำงานคล้ายคลึง กับกล้องถ่ายรูป กล่าวคือ ขณะที่เรากำลังมองวัตถุใดๆ อยู่นั้นก็เหมือนกับเรากำลังถ่ายภาพ สีธรรมชาติของวัตถุนั้นๆ อยู่ ซึ่งตาของเราคล้ายกับกล้องถ่ายรูปคือ มีกระบอกตา เทียบกับเรือนกล้อง เรตินา เทียบกับฟิล์มเลนส์ตาเทียบกับเลนส์กล้อง เปลือกตาเทียบกับชัต เตอร์ของกล้อง และม่านตาเทียบกับ ไดอะแฟรม ของกล้อง

ลักษณะของการมองเห็น
เมื่อแสงสีสะท้อนจากวัตถุหรือแสงจากแหล่งกำเนิดแสง ผ่านเข้าสู่นัยน์ตาม่านตาจะทำหน้าที่ปรับแสงให้เข้าสูู่่นัยน์ตา อย่างอัตโนมัติเมื่อแสงเข้าไป เลนส์ตาจะทำหน้าที่ปรับโฟกัสของแสง เพื่อให้ไปตกที่จอตา อย่างพอเหมาะและแสวจะไปกระตุ้นเซลล์รับแสงที่บริเวณจอตา แล้วเซลล์รับแสงจะส่งสัญญาณกระตุ้นไปยังสมอง เพื่อแปลความหมาย ของแสงสี ที่เข้าสู่นัยน์ตา ความผิดปกติของสายตาอาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น สายตาสั้น สายตายาวและสายตาเอียง ความผิดปกติเหล่านี้ สามารถแก้ไขได้ โดยใช้เลนส์เว้าหรือเลนส์นูนเข้าช่วยในการมองเห็นการเห็นภาพลวงตาที่มองเห็นผิดไปจากสภาพความเป็นจริง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เช่น คนสูงต้องใส่เสื้อลายขวาง คนเตี้ยต้องใส่เสื้อลายตั้งองค์ประกอบของวัตถุในการมองเห็น

การที่เราจะมองเห็นวัตถุได้ชัดเจนหรือมองไม่เห็น จะต้องขึ้นอยู่องค์ประกอบต่อไปนี้
1. ขนาดของวัตถุ
2. ความเข้มของแสงที่ส่องวัตถุ
3. ความเข้มของฉากอ้างอิง
4. เวลาในการมองเห็น

ขนาดของวัตถุ
ขนาดของวัตถุมีความสำคัญมากในการมองเห็นในความเป็นจริงวัตถุที่มีขนาดใหญ่จะต้องมองเห็นได้ชัดกว่าวัตถุขนาดเล็กโดยเฉพาะในระยะทางที่ยิ่งไกลวัตถุขนาดเล็กยิ่งมองเห็นได้ยากกว่าวัตถุขนาดใหญ่

ความเข้มของแสงที่กล่องวัตถุในการมองเห็นวัตถุจะต้องอาศัยแสงสว่างที่ส่องไปยังวัตถุสัตถุที่มีการสะท้อนแสงได้ดีก็จะเห็นชัดเจนกว่าวัตถุที่ไม่สะท้อนแสง เช่นก้อนหินสีดำ กับก้อนหินสีขาว เมื่อใช้แสงส่องเข้าไปโดยมีปริมาณแสงเท่ากัน หรือนำไปวางไว้ที่มืดๆ ก้อนหินสีขาวจะต้องเห็นชัดกว่าก้อนหินสีดำ อีกลักษณะหนึ่งคือในวัตถุชนิดเดียวกันแต่ใช้แสงส่องต่างกัน วัตถุที่แสงส่องมากมากจะต้องเห็นชัดเจนมากกว่า ความเข้มของฉากอ้างอิงลักษณะของฉากอ้างอิงทำให้มีผลต่อการมองเห็นด้วยเหมือนกันวัตถุที่สีเดียวกันกับฉากจะทำให้การมองเห็นยากกว่า วัตถุที่สีตัดกัน เช่น ฉากสีขาว วัตถุสีดำ ก็จะทำให้เห็นวัตถุง่ายขึ้น
เวลาในการมองเห็นในการมองเห็นจะต้องเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องและต้องใช่เวลาเพื่อให้เกิดลักษณะการมองเห็น เพราะฉะนั้น เมื่อวัตถุที่การเคลื่อนไหวรวดเร็วก็ทำยากต่อการมองเห็นกว่าวัตถุที่นิ่งอยู่กับที่ เวลาจึงมีความสำคัญต่อการมองเห็นมาก

ลักษณะความผิดปกติของสายตา
ลักษณะความผิดปกติของสายตาคือ การมองภาพที่อยู่ใกล้หรือไกลไม่ชัดเจน เนื่องจากความผิดปกติเกี่ยวกับสายตาที่ผิดปกติไป เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงเป็นต้น ซึ่งปัจจุบันสามารถแก้ไขความผิดปกติโดยการใช้เลนส์ชนิดต่าง ๆ เพื่อช่วยให้มองเห็นภาพได้ชัดเจน คนสายตาปกติมองดูวัตถุได้ชัดในระยะที่ใกล้สุดประมาณ 25 เซนติเมตร และระยะไกลสุดที่สามารถเห็นได้ชัด คือระยะอนันต์การมองท้องฟ้าไกล ๆเรารู้สึกสบายตา เนื่องจากกล้ามเนื้อตาได้พักไม่ต้องทำงานเพื่อปรับเลนส์ตาเหมือนขณะที่มองวัตถุในระยะใกล้
คนสายตาปกติ


- สำหรับคนทีสายตาปกติจุดใกล้ที่อยู่ระยะ 25 เซนติเมตรจากตาดังรูป



- สำหรับคนที่มีสายตาปกติจุดไกลจะอยู่ระยะไกลมากหรือระยะอนันต์ดังรูป




คนสายตาสั้น (Short sight) คือ คนที่มองเห็นวัตถุได้ชัดเจนในระยะใกล้กว่า 25 เซนติเมตรดังรูป


สาเหตุของสายตาสั้น เกิดเนื่องจาก 1. กระบอกตายาวเกินไป ทำให้ภาพที่ตกจะตกก่อนถึงเรตินา (จอตา) 2. เลนส์ตานูนเกินไปหรือกระจกตาโค้งมากเกินไป ทำให้ภาพของวัตถุที่ไปตกจะตกก่อนถึงเรตินา (จอตา) วิธีแก้คนสายตาสั้น ให้ใช้แว่นที่ทำด้วยเลนส์เว้าดังรูป


คนสายตายาว (Long sight) คือ คนที่มองวัตถุได้ชัดเจนในระยะไกลกว่า 25 เซนติเมตรดังรูป



สาเหตุของสายตายาว
เกิดเนื่องจาก

1. กระบอกตาสั้นเกินไป ทำให้ภาพที่ไปตกจะตกก่อนเรตินา (จอภาพ)
2. เลนส์ตาแฟบเกินไป หรือกระจกตาโค้งน้อยเกินไป ทำให้ภาพวัตถุที่ไปตกจะตกเลยเรตินา (จอตา) ออกไป วิธีแก้คนสายตายาว ให้ใช้แว่น ที่ทำด้วยเลนส์นูนดังรูป


สายตาของคนสูงอาย มองระยะใกล้ชัดที่ระยะมากกว่า 25 เซนติเมตรมองไกลไม่ถึงระยะอนันต์แว่นสำหรับ คนสูงอายุะใช้แว่นที่ใช้ดูได้ ทั้งระยะใกล้และระยะไกลซึ่งประกอบด้วยเลนส์สองชนิดที่มีความยาวโฟกัส ต่างกัน คือแว่นที่ทำด้วยเลนส์ชนิดไบโฟคัสเลนส์ (Bifocal lens) ไบโฟคัสเลนส์ หมายถึงเลนส์ที่มีความยาวโฟกัส 2 ชนิดประกอบกัน ใช้สำหรับดูวัตถุในระยะใกล้และระยะไกล สายตาเอียง (Astigmatism) เกิดจากความโค้ง ของกระจกตาหรือเลนส์ไม่เป็นผิวของทรงกลม ทำให้มองเห็นวัตถุชัดเพียงแนวเดียวซึ่งอาจจะเห็นชัดในแนวดิ่ง แต่ไม่เห็นไม่ชัดในแนวระดับ หรือชัดในแนวระดับแต่เห็นไม่ชัดในแนวดิ่ง วิธีสายตาเอียงให้ใช้มือปิดตาข้างหนึ่งแล้วมองรูปโดยทำทีละข้าง ถ้าเห็นเส้นที่อยู่ระหว่างแนวระดับกับแนวดิ่งเป็นสีดำเท่ากันแสดงว่าสายตาปกติ ถ้าเห็นเป็นสีเทาความเข้มไม่เท่ากันแสดงว่าสายตาเอียงวิธีแก้สายตาเอียงคือ ใช้แว่นที่ทำด้วยเลนส์กาบกล้วยชนิดเว้าและชนิดนูน
สายตาเอียง (Astigmatism) เกิดจากความโค้งของกระจกตาหรือเลนส์ ไม่เป็นผิวของทรงกลม ทำให้มองเห็นวัตถุชัดเพียงแนวเดียว ซึ่งอาจจะเห็นชัดในแนวดิ่งแต่ไม่เห็นไม่ชัดในแนวระดับ หรือชัดในแนวระดับแต่เห็นไม่ชัดในแนวดิ่ง วิธีสายตาเอียง ให้ใช้มือปิดตาข้างหนึ่งแล้วมองรูป โดยทำทีละข้าง ถ้าเห็นเส้นที่อยู่ระหว่างแนวระดับกับแนวดิ่ง เป็นสีดำเท่ากันแสดงว่าสายตาปกติ ถ้าเห็นเป็นสีเทาความเข้มไม่เท่ากันแสดงว่าสายตาเอียงวิธีแก้สายตาเอียงคือใช้แว่นที่ทำด้วยเลนส์กาบกล้วยชนิดเว้าและชนิดนูน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น