วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

Sodium – Potassium Pump

Sodium – Potassium Pump



ภายในเซลล์ประสาทมีโปรตีนประจุลบ ซึ่งมีขนาดใหญ่ไม่สามารถออกนอกเซลล์ได้ ทำให้ภายในเซลล์เป็นประจุลบ ประกอบกับการที่เซลล์ยอมให้ K+ จากภายในเซลล์ออกมาได้ดี ทำให้ภายนอกเซลล์เป็นประจุบวกเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นเซลล์ประสาทในระดับที่เซลล์สามารถตอบสนองได้ ( Threshold Potential ) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของศักย์เยื่อเซลล์ คือ ทำให้ช่องโซเดียมเปิด Na+ จึงพรูเข้าไปในเซลล์ ภายในเซลล์จะเป็นลบน้อยลง และมีความเป็นบวกมากขึ้น ความต่างศักย์ที่เยื่อเซลล์จะเปลี่ยนจาก -70 mV เป็น +50 mV เรียกระยะนี้ว่า Depolarization หลังจากนั้นช่องโซเดียมจะปิด แต่ช่องโพแทสเซียมจะเปิด ทำให้ K+ พรูออกนอกเซลล์ ทำให้เซลล์สูญเสียประจุบวกและกลับกลายเป็นประจุลบ ความต่างศักย์ที่เยื่อเซลล์จะเปลี่ยนจาก +50 mV เป็น -70 mV กลับสู่สภาพเดิม เรียกระยะนี้ว่า Repolarization ดังภาพ
การกระตุ้นเซลล์ประสาทในขณะที่ยังเกิด Action Potential อยู่ เซลล์ประสาทจะไม่ตอบสนอง เราเรียกระยะนี้ว่า Absolutely Refractory Periodการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ดังกล่าวนี้เรียกว่า Action Potential หรือ Nerve Impulse การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตรงบริเวณที่ถูกกระตุ้นจะชักนำในเกิด Action Potential ในบริเวณถัดไป มีผลให้ Action Potential เคลื่อนที่ไปตามยาวของเส้นใยประสาทแบบจุดต่อจุดต่อเนื่องกัน ( Core Conduction ) ในแอกซอนที่ไม่มี Myelin Sheath หุ้ม

สำหรับ Myelinated Axon เยื่อไมอีลินจะทำหน้าที่เป็นฉนวน ทำให้เกิด Action Potential จะเกิดเฉพาะบริเวณ Node of Ranvier ทำให้การเคลื่อนที่ของกระแสประสาทเร็วว่า การเคลื่อนที่ของกระแสประสาทแบบนี้เราเรียกว่า Saltatory Conductionนอกจากนี้เส้นผ่านศูนย์กลางของ Axon ก็มีผลต่อการเคลื่อนที่ของประแสประสาท โดย Axon ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า Action Potential จะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น