วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

การเกิดกระแสประสาท

การเกิดกระแสประสาท

สิ่งเร้าชนิดต่างๆ เช่น ความร้อน เสียง สารเคมีที่มากระตุ้น หน่วยรับความรู้สึกจะเปลี่ยนให้เป็นกระแสประสาทฮอดจ์กิน ( A.L. Hodgkin ) และฮักซ์เลย์ ( A.F. Huxley ) ได้นำไมโครอิเล็กโทรด ( Microelectrode ) ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดแก้วยาวปลายเรียวต่อกับมาตรวัดความต่างศักย์ ( Oscilloscope ) จากนั้นเสียบปลายด้านหนึ่งของไมโครอิเล็กโทรดเข้าไปในแอกซอนของหมึกยักษ์และแตะปลายอีกข้างหนึ่งไว้ที่ผิวด้านนอกของแอกซอน ดังภาพ


จากการทดลองพบว่าสามารถวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างภายในกับภายนอกได้ -70 มิลลิโวลต์ ซึ่งเป็นศักย์เยื่อเซลล์ระยะพัก ( Resting Membrane Potential ) เยื่อหุ้มเซลล์มีโปรตีนทำหน้าที่ควบคุมการเข้าออกของไอออนบางชนิด เช่น Na+ เรียกว่าช่องโซเดียม K+ เรียกว่าช่องโพแทสเซียม ในระยะพัก ความเข้มข้นของ Na+ ภายนอกเซลล์มากกว่าภายในเซลล์ แต่ความเข้มข้นของ K+ ภายในเซลล์มากกว่าภายนอกเซลล์ ทำให้ Na+ จึงแพร่เข้าไปในเซลล์ผ่านช่องโซเดียม ในขณะที่ K+ แพร่ออกนอกเซลล์ผ่านช่องโพแทสเซียม แต่เซลล์ก็ยังสามารถดำรงความแตกต่างของความเข้มข้นในแต่ละบริเวณไว้ได้ เนื่องจากอาศัยพลังงานจาก ATP ในการที่จะผลัก Na+ ไปข้างนอกและดึง K+ เข้ามาในเซลล์ ในอัตราส่วน 3 Na+ ต่อ 2 K+ เรียกกระบวนการนี้ว่า Sodium – Potassium Pump

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น